อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อ การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีแรงจูงใจเป็นปัจจัยกำกับ

Main Article Content

มยุรา ธรรมวัฒนากุล
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค และ 2) อิทธิพลทางตรงที่กำกับเส้นทางของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ไปสู่การตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีแรงจูงใจเป็นปัจจัยกำกับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพ จำนวน 200 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีระดับความคิดเห็นของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 4.41 4.34 และ 4.27 ตามลำดับ และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.481 0.469 0.482 และ 0. 442 ตามลำดับ อิทธิพลทางตรงที่กำกับเส้นทางของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ไปสู่พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพด้วยแรงจูงใจจะมีค่าสูงขึ้น เมื่อมีแรงจูงใจเพิ่มขึ้น โดยมีสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.045-0.085 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.350-0.463 จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาให้เกิดความหลากหลายอย่างต่อเนื่องและมีการบริการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านหลายช่องทางสามารถสร้างพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมีการจูงใจด้วยการให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่มากขึ้น ก็จะสนับสนุนให้ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพเกิดพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้นจาก https:// stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.

เครือมาศ มีเกษม. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นลินนาถ ภู่พวงไพโรจน์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แช่เย็นในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด. (2559). รายงานประจำปี 2559: โออิชิ 4.0. สืบค้นจาก https://www.oishigroup.com/Annual_Report.pdf.

ปรมน ปัญญาไตรรัตน์ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2565). รูปแบบการดำเนินชีวิตและนวัตกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหาร Meal Kit ของผู้บริโภคในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 43-54.

ภารดี คำจริง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารพร้อมปรุงเพื่อสุขภาพ (Ready-to Cook) ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th

สุกัญญา ผลพิมาย และณิตชาธร ภาโนมัย. (2561). ความชุกของการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(2), 174-185.

Aji, N. S., Djawahir, A. H., & Rofiq, A. (2019). The influence of products and promotions on purchasing decisions mediated in purchase motivation. Journal of Applied Management, 17(1), 152-161.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Ginting, M., & Sembiring, H. (2017). The effect of product innovation, product quality and city image on purchase decision of Uis Karo Woven Fabric. Advances in Economics, Business and Management Research, 46, 593-598.

Hatta, I. H., Rachbini, W., & Parenrengi, S. (2018). Analysis of product innovation, product quality, promotion, and price, and purchase decisions. South East Asia Journal of Contemporary Business, Economics and Law, 16(5), 183-189.

Haudi, H., Wijoyo, H., & Cahyono, Y. (2020). Effect of product innovation and marketing strategy on consumer purchase decisions in Indonesia’s lightweight roof steel industry. Journal of Critical Reviews, 7(13), 4147-4155.

Hidayah, E. N., & Rahmawan, G. (2021). The influence of product quality, price, product innovation and brand image on purchasing decisions of instant noodles in Indonesia. Journal of Research in Business, Economics, and Education, 3(1), 1564-1571.

Kurniawati, M., Basalamah, R., & Farida, E. (2022). The effect of consumer motivation, perception and attitude on the purchase decision of Asus Brand Laptops (Case study on students at Rusunawa II UNISMA). Budapest International Research and Critics Institute-Journal, 5(2), 15207-15217.

Lestari, I., Chaniago, S., Azzahra, S., & Effendi, I. (2019). Trust identification and smartphone purchase decisions (Structural equation modeling approach). International Journal of Civil Engineering and Technology, 10(2), 1020-1032.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.

Merisa, L. L., & Siahaan, R. A. (2018). The influence of product innovation and service quality to buying decision and the impact to repeat buying at Progo Road Bandung. The Asian Journal of Technology Management, 11(2), 118-124.

Mir, I. A. (2014). Effects of Pre-purchase search motivation on use attitudes to ward online

Rayi, G., & Aras, M. (2021). How product innovation and motivation drive purchase decision as consumer buying behavior. Journal of Distribution Science, 19(1), 49-60.

Westland, J. C. (2010). Lower bounds on sample size in structural equation modeling. Electronic Commerce Research and Applications, 9(6), 476-487

Xiao, J., Gong, Y., Li, J., Tang, X., Javeed, S. A., & Deng, Y. (2022). A study on the relationship between consumer motivations and subjective well-being: A latent profile analysis. Frontiers in Psychology, 13, 1-14.

Westland, J. C. (2010). Lower bounds on sample size in structural equation modeling. Electronic commerce research and applications, 9(6), 476-487.

Yusuf, A. (2021). The influence of product innovation and brand image on customer purchase

decision on oppo smartphone product in South Tangerang City. Budapest International Research and Critics Institute-Journal, 4(1), 472-481.