แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านในตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม นักพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน และคนในชุมชน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แล้วทำการวิคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า จุดแข็งที่สำคัญ คือ สมาชิกกลุ่มมีการทำงานที่เป็นระบบ สามัคคีกัน รับฟังเหตุผลของกันและกัน มีประธานกลุ่มที่เข้มแข็ง ด้านจุดอ่อน คือ ขาดเงินทุนสนับสนุนด้านโรงเรือนและเทคโนโลยีการผลิต ขาดการรับรองมาตรฐานสินค้า บรรจุภัณฑ์ไม่เป็นที่สะดุดตา ขาดการประชาสัมพันธ์ โอกาสของกลุ่ม คือ การได้รับรางวัลจากการจัดตั้งกลุ่มถูกต้อง และมีผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเป็นเรื่องของความล่าช้าของบริษัทจัดหาวัตถุดิบภายนอก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือควรจัดฝึกอบรมให้กับคนรุ่นใหม่ในชุมชน จัดการศึกษาดูงานต่างพื้นที่ วางแผนการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน ติดต่อบริษัทภายนอกที่สามารถจัดหาวัตถุดิบราคาถูก และมีคุณภาพ พึ่งพาเทคโนโลยีการผลิต และยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าให้ได้ขึ้นทะเบียนอาหารและยา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กมลวรรณ สังทอง, ณัฐวุฒิ สังข์เพชร, ธนาภรณ์ ร่างสีคง, นุสรา บุญเฉลียว, ปรินธร สุขชู, พรรษาภา บุบผากาญจน, และคณะ. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 12(2), 211-220.
จตุพร คงทอง, ฐิรารัตน์ แก้วจำนง และสุรีย์พร วุฒิมานพ. (2561). แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์
เครื่องแกงชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนากุน. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(ฉบับพิเศษ), 36-47.
จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์ และทักษญา สง่าโยธิน. (2562). ห่วงโซ่มูลค่าเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่าง
ยั่งยืน ด้วยแนวคิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC). วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
(1), 104-117.
จินดา ธำรงอาจริยกุล. (2564). บทบาทเครือข่ายทางสังคมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอายุวัฒนะ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(1), 100-118.
จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส และปานแก้วตา ลัคนาวานิช. (2563). การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจหมู่บ้านทำมาค้าขาย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่า ชาวนาคุณธรรม จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(2), 101-118.
น้ำฝน ศิริวันสาณฑ์ และพภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2560). การบรรลุเป้าหมายนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน: กรณีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 129-143.
ประชิด ทิณบุตร และนรรชนภ ทาสุวรรณ. (2561). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพรสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 126-141.
ปิยพัทธ์ หีบแก้ว และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนร้านรุ่งตะวันสมุนไพร ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 267-280.
พรรณเพ็ญ วัฒนมงคลลาภ. (2560). แนวทางในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระหมี ถิรจิตฺโต. (2561). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์, ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิชา วิสิทธิ์พานิช, ศิริพร อินโห้, ลักษมี งามมีศรี และจิรพร จรบุรี. (2562). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าในการผลิต และการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 5(2), 89-100.
พิมม์ญภัทร สุพรรณพงศ์. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวไทยเชิงสุขภาพ: กรณีศึกษาเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 (537-547). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. (2550). การพัฒนาชุมชน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/295403.
ฤทัยภัทร ให้ศิริกุล. (2563). แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชัฏบุรีรัมย์, 15(2), 9-23.
ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน ด้านธุรกิจสมุนไพรแปรรูปในเขตจังหวัด ลพบุรี เพื่อรองรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 191-203.
สมชาย น้อยฉ่ำ, วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ และสุภา แสงจินดาวงษ์. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 130-139.
สามารถ ใจเตี้ย, สิวลี รัตนปัญญา, วรรณลักษ์ แสงโสดา และดารารัตน์ จำเกิด. (2562). การใช้ประโยชน์สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้อายุเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(6), 613-618.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). วิสาหกิจชุมชนกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก http://www.sme.go.th/Lists/Editorlnput/.
สุนิษา กลิ่นขจร. (2558). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรบ้านเขานาในตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎ์ธานี. Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 2643-2655.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
อารี วิบูลย์พงศ์. (2555). บทความสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 4(6), 118-133.
Lertsiri, S., Tongdeelert, P., Rangsipaht, S., & Tapachai, N. (2017). Study of risk factors of the operation of food processing community enterprises in Bangkok Metropolitan Region. Veridian E-Journal (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(5), 577-593.
Porter, M. E. (1985). The Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Free Press.