เหตุจูงใจที่ทำให้ผู้ปกครองส่งบุตรเข้าร่วมโปรแกรมระยะสั้นในต่างประเทศ

Main Article Content

อิงอร อารีย์วงศ์
กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย
วุฒิยา สาหร่ายทอง

บทคัดย่อ

          การให้ความสำคัญกับการสื่อสารภาษาต่างประเทศในประเทศไทยได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจในกลุ่มที่สนับสนุนการศึกษามีอัตราการเติบโตที่สูง แต่การดำรงอยู่ของธุรกิจมีแนวโน้มลดลง นำไปสู่ประเด็นคำถามถึงแนวทางการอยู่รอดของธุรกิจ การศึกษาเกี่ยวกับความต้องการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างโอกาสการเข้าร่วมโปรแกรมภาษาในต่างประเทศ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการอยู่รอดของธุรกิจ โดยเฉพาะประเด็นส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อธุรกิจบริการการศึกษา และการสร้างโอกาสที่ผู้ปกครองจะส่งบุตรหลานที่เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเข้าร่วมโปรแกรมภาษาระยะสั้นในต่างประเทศ จากกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนจำนวน 415 คน วิธีการศึกษาได้ประยุกต์ใช้ t-test และ F-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และความแปรปรวนของการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดระหว่างกลุ่มตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบในภาพรวม
         ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นทางด้านกายภาพ สำหรับค่าผลกระทบส่วนเพิ่มที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมภาษาในต่างประเทศ ได้จากผลการวิเคราะห์โลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการก่อนและหลังการขาย ต้องคำนึงถึงการเข้าถึงข้อมูล และความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมโปรแกรมภาษาในต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับด้านพนักงานขาย ซึ่งบริษัทมีระบบอบรมการขายที่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันผู้ปกครองที่เคยไปศึกษาในต่างประเทศมีแนวโน้มการส่งบุตรหลานเข้าร่วมโปรแกรมภาษาในต่างประเทศแตกต่างจากผู้ปกครองที่เคยไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนั้นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ เหมาะสำหรับการเข้าร่วมโปรแกรมภาษาในต่างประเทศ เนื่องจากค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับระดับรายได้ต่อครัวเรือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาการค้า. (2562). ภาพรวมธุรกิจการเรียนการสอนภาษา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562, จาก http://datawarehouse.dbd.go.th/forecast/revenue/85500

ทิพย์ธิดา สกุลทองอร่าม. (2557). ปัจจัยการไปศึกษาต่อต่างประเทศของนักเรียนชาวเกาหลี ตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2012. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮิโรนากะ โทมิตะ และทาโร โมจิซึคิ. (2559). ความต้องการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นของนักศึกษาชาวไทยและนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นในการรับนักศึกษาต่างชาติ. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 6(1), 131-146.

Gordon, P., Heischmidt, K., Sterrett, J., & McMillan, H. (2009). Internationalising the business program: One college‘s approach. Presented at the Marketing Management Association Fall Educator’s Conference. Retrieved May 5, 2019, from https://www.researchgate.net/.publication/259864511_INTERNATIONALIZING _THE_BUSINESS_PROGRAM_ONE_COLLEGE'S_APPROACH.

Chieffo, L., & Griffiths, L. (2004). Large-scale assessment of student attitudes after a short-term study abroad program. The Interdisciplinary Journal of Study Abroad, 10(1), 165-177.

Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Lewis, T. L., & Niesenbaum, R. A. (2005). Extending the stay: Using community-based research and service learning to enhance short-term study abroad. Journal of Studies International Education, 9(3), 251-264.

Long, S., Akande, Y., Purdy, R., & Nakano, K. (2010). Deepening learning and inspiring rigor: Bridging academic and experiential learning using a host country approach to a study tour. Journal of Studies in International Education, 14(1), 89-111.

Paula, M., Emanuela, R., & Avram, M. (2003). Optimizing the marketing mix: An essential element in developing competitive strategies in the field of higher education. Romanian Economics and Business Review, 8(1), 57-65.

Sachau, D., Neil B., & Scott, F. (2009). Three models for short-term study abroad. Journal of Management Education, 34(5), 645-670.