ปัจจัยคุณภาพการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลม

Main Article Content

วิริยา ประสาลีบุตร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลมและเพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการเชิงคุณภาพที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท และสายสีลม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทสายสีลม จำนวน 385 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามที่ใช้ใน ผลการวิจัยพบว่าในด้านคุณลักษณะประชากรนั้นผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลมที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความพึงพอใจในการใช้บริการที่ต่างกันและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลม มีความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ไม่แตกต่างกันเนื่องจากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สายสีลม ต่างก็ต้องการความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว รวมถึงความปลอดภัยในการเดินทาง สามารถกำหนดระยะเวลาในการเดินทางได้อย่างแน่นอน ทำให้คนที่มีคุณลักษณะข้างต้นเลือกใช้บริการ สำหรับปัจจัยคุณภาพการจัดการ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลม พบว่า ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ ด้านการตรวจสอบ และด้านการแก้ไขปัญหา จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการบริหารจัดการที่ดีซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิตยา สัมมาพันธ์. (2535). การบริหารคุณภาพแบบญี่ปุ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ครุสภา.

ฉัฐยา ภุมรินทร์. (2547). การแก้ไขปัญหาจราจรแบบยั่งยืนด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

Juran J. M. (1998). In Gryna, F. M. (Ed.), Juran's Quality Control Handbook (4th ed.). McGraw-Hill: New York.

Wolman, T. E. (1973). Education and Organizational Leadership in Elementary School. Englewood Cliff: Prentice–Hall.