การศึกษาแนวทางในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายออนไลน์

Main Article Content

วาชิณี ยศปัญญา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ 2) ให้ได้ข้อสรุปและนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของประเทศไทย โดยวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป ผลการวิจัยพบสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ คือ 1) ปัญหามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นการเฉพาะ 2) ปัญหาบทลงโทษตามมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ กรณีผู้ขายสินค้าหลอกลวงผู้บริโภค เป็นโทษเบาไม่อาจข่มขู่ยับยั้งได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หมวดที่ 2 การคุ้มครองผู้บริโภค โดยเพิ่มส่วนที่ 4 การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ และเพิ่มบทกำหนดโทษ มาตรา 47 หากโฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดกระทำผิดซ้ำอีก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิ่มบทกำหนดโทษมาตรา 61/1 หากผู้ขายไม่ลงทะเบียน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดกระทำผิดซ้ำอีก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Droidsans, (2024). tatistics of cases where Thais were deceived online the most in the 3 years 2022 – 2024. Retrieved November 6, 2024. from https://droidsans.com/ais-cyber-scam-protection/.

Sukaboon, K. (2021). Liability of online business operators: comparison between Thai law and foreign law. Journal of Politics, Administration and Law, 13(3), 1-18. (In Thai).

Phongphan, J. (2014). Legal problems regarding buying and selling goods online. Study the case of rights and duties of contracting parties and consumers. Dissertation in the field of business law Faculty of Law, Sripatum University, Bangkok. (In Thai).

Terat, C. (2022). Legal development. Retrieved September 20, 2022. from https://www.opdc.go.th.

Phungern, C. (2012). Legal measures regarding liability for defects. of real estate business operators: study of the housing and condominium business cases. Master's Thesis field of law Faculty of Law, Dhurakij Pundit University. Bangkok. (In Thai).

Suthiyothin, N. (2023). Criminological theory. Course study guidelines Criminal law and advanced criminology. Sukhothai Thammathirat Open University. Bangkok. (In Thai).

Sriket, T. (2014). Consumers and problems with purchasing products through online networks. Office of the Secretariat of the House of Representatives. Bangkok. (In Thai).

Matichon Online. (2023). Metropolitan investigation arrested the swindler 'Napaporn'. Found 600 victims and set up a LINE group to hunt. Retrieved September 20, 2022. from https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3854458.

Ministry of Digital Economy and Society. (2022). Government Information Service Center Project for the People. Retrieved September 20, 2022. from https://www.gcc.go.th /?p=105723.

Tongjit, S. (2016). Factors influencing the decision to purchase products online through Marketplace channels electronic commerce (E-Marketplace). Independent research Master of Business Administration, Thammasat University. Bangkok. (In Thai).

Office of the Consumer Protection Board. (2023). Online trading problems. Retrieved September 20, 2022. from https://www.ocpb.go.th.

Information Center for Thai Business in the United States, (2023). Online trade information across the United States border (Cross-Bordere-Commerce). Retrieved September 5, 2022.from https://www.ditp.go.th/contents_attach/584582/ 584582.pdf.

Electronic Transactions Development Agency, (2022). The role of the government in supporting e-Commerce. Retrieved September 5, 2022. From https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Government-Support-of-e-Commerce.aspx?feed=cb66f430-5546-4dd8-b279-3827e88d154b.

Chellappa, R. K., & Pavlou, P. A. (2002). Perceived information security, financial liability nd consumer trust in electronic commerce transactions. Logistics Information Management, 15(5/6), 358-368.