การประเมินความเข้าใจของอาสาสมัครกู้ภัยในการป้องกันที่เกิดเหตุในคดีต่อชีวิตและร่างกาย กรณีศึกษามูลนิธิสว่างโรจนธรรมสถานสัตหีบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติงาน ระดับความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นด้านการรักษาสถานที่เกิดเหตุ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภูมิหลังกับระดับความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นด้านการรักษาสถานที่เกิดเหตุของอาสาสมัครกู้ภัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นอาสาสมัครกู้ภัย 133 คน การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นหัวหน้าแผนก 6 คน และใช้วิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วมด้วย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนและค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครกู้ภัยส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุด คือ จบมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานมาแล้ว 6-10 ปี ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมการสัมมนาและการฝึกอบรม ในด้านความรู้ความเข้าใจ ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกู้ภัยส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.44 ในด้านความคิดเห็น พบว่า อาสาสมัครกู้ภัยส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 40.44 และพบว่า ความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.013 ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ 1) การมุงดูที่เกิดเหตุ 2) สภาพแวดล้อมของสถานที่เกิดเหตุซึ่งส่งผลต่อความยากง่ายในการปฏิบัติงาน 3) ขาดแคลนบุคลากร 4) อุปกรณ์-เครื่องมือไม่ทันสมัย สำหรับแนวทางในการพัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ การจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดการไทยมุงและวิธีการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงจัดตารางการทำงานให้อาสาสมัครกู้ภัยเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและจัดหางบประมาณเพิ่มเติมเพื่อทำการจัดซื้อเครื่องมือ-อุปกรณ์ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Ferdico, J.N. (1979). Criminal Procedure for the Law Enforcement Officer. St. Paul Minn: West Publishing & Co.Ltd, 1979
Phago, R.J. (2017). Evaluation of the Role of the First Responder at the Crime Scene. Master of Arts in Criminal Justice, University of South Africa.
Sadudee, S. and Niyomdecha M. (2018). Knowledge and Understanding of forensic and medical evidence by rescue volunteer Sawangprateep Sriracha in Chonburi province. Journal of Criminology and Forensic Science , Volume 4 Number 2 July – December 2018.
Sankaewkad, S. (2021). Knowledge and Understanding of Nonthaburi Emergency Medical Service Personnel for the Protection of Crime Scene and Forensic Evidence. Journal of Criminology and Forensic Science, Volume 7 Number 1 January - June 2021.
Schiro, G. (2002). Protecting the crime scene. Available from:http://www. Crime-scence- investigator.net/evidenc 1.html
Singh, H.N. (2021). Crime Scene Investigation. International Journal of Science and Research (IJSR), 10(11), 642-648. DOI: 10.21275/SR211112005543
Siricharernsook, S.(1998). Crime scene protection. A Thesis of Master of Laws, Chulalongkorn University.
Suebpongsiri, S. (2003). Knowledge and opinions of Poh Tek Tung Foundation's Rescue Unit about protecting and preserving physical evidence at crime scenes. A Thesis of Master of Arts in Sociology , Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.
Tongtavee, J. (2018) . Understanding and Opinions of Pitakkarn foundation Rescue Officers on Protection and Preservation of Physical Evidence at Crime Scenes. A Thesis of the Requirements for Master of Science (FORENSIC SCIENCE), Silpakorn University.