ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวนจังหวัดระยอง

Main Article Content

วรรณพร สมนึก
วรธัช วิชชุวาณิชย์

บทคัดย่อ

ตำรวจเป็นหน่วยงานที่สำคัญในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากเป็นหน่วยงานแรกที่รับผิดชอบการอำนวยความยุติธรรมก่อนจะเข้าสู่ชั้นอัยการและศาล พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อการพิจารณาคดีความในชั้นอัยการและศาล พยานหลักฐานที่มีบทบาทมากในปัจจุบันคือ พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานต่อพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่จังหวัดระยองโดยทำการศึกษาจากพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง จำนวน 126 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในหัวข้อทั่วไปทางนิติวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับคะแนนระดับความรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า พนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่จังหวัดระยองส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51-60 ปี อายุราชการ 25 ปีขึ้นไป ประสบการณ์ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนอยู่ในช่วงระหว่าง 5-10 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและเคยเข้ารับการฝึกอบรมการเก็บพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจทางนิติวิทยาศาสตร์ในระดับมาก จากการวิเคราะห์พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับอายุ อายุราชการ ประสบการณ์ในตำแหน่งพนักงานสอบสวน การเข้ารับการฝึกอบรมด้านนิติวิทยาศาสตร์ (P-value ≤ 0.05) ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ จำนวนพนักงานสอบสวนไม่เพียงพอ ขาดความรู้ในการเก็บรวบรวบพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์บางชนิด พนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่จังหวัดระยองมีความคิดเห็นว่าพนักงานสอบสวนจะต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานด้านการเก็บพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamsuwannawong, A. (2003). Forensic Science 1 for Crime Investigation, 4th Edition. Bangkok. TCG Printing. (In Thai).

Chayaphan P. (1994). Basic knowledge of criminal investigation Bangkok: Silpsiam Printing Printing Ltd. (In Thai).

Chudchawinporn Y. (2010). Analysis of dika judgments in crominalcases that used forevisic evidence at trial : cases during the year 1997-2006. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Engsomboon S. (2008). Preliminary inspection of the crime scene. Royal Police Cadet Academy, Nakhon Pathom. (In Thai).

Koloy N. (2021). The guideline for the development of knowledge about the collection of evidence in forensic science of provincial police at Trat province. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Noikaew R. (2019). The Study of the Significance of Forensic Evidence and Utilizationin Criminal Case : Satun Provincial Police Station. Faculty of Forensic Science, Royal Police Cadet Academy, Nakhon Pathom. (In Thai).

Saenkaew K. (2019). The crime scene investigation development of the police station in provincial police region 8. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Uamfung, W. (2013). Knowledge and opinions of inquiry officer about collects forensic evidence metropolitan police divistion 7. Master of Science Program in Forensic Science An Independent Study. Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Yingcharoen K. (2018). Inquiry police officers’ understanding and use of forensic science in the investigation of specialized criminal cases. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Yosprasit T. (2018). Knowledge and opinion for collect of evidence in forensic science of inquiry officer in Metropolitan police division 8. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).