การตรวจเก็บรอยประทับรองเท้าบนพื้นผิวที่แตกต่างกันด้วยเครื่องลอกรอยฝุ่นไฟฟ้าสถิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
รอยประทับที่มีรูปแบบ เช่น รอยรองเท้า เป็นหลักฐานอีกประเภทสำหรับเชื่อมโยงพฤติการณ์ในสถานที่เกิดเหตุ การตรวจเก็บรอยประทับใช้สำหรับตรวจเปรียบเทียบกับผู้ต้องสงสัยได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตรวจเก็บรอยรองเท้าเปื้อนฝุ่นบนพื้นผิววัสดุที่นิยมนำมาปูพื้นที่พักอาศัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยการจำลองรองเท้าที่เปื้อนฝุ่นดิน ประทับรอยลงบนพื้นผิววัสดุที่แตกต่างกัน 5 ชนิด ได้แก่ กระเบื้องยาง กระเบื้องเซรามิก พรมผ้า ลามิเนต และเสื่อน้ำมัน จากนั้นตรวจเก็บรอยรองเท้าเปื้อนฝุ่นด้วยเครื่องลอกรอยฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต วิเคราะห์คุณภาพของรอยรองเท้าโดยการตรวจนับจุดที่ปรากฏบนช่องที่กำหนดความละเอียดขนาด 0.6 x 0.6 เซนติเมตร ผลการศึกษาพบว่า เครื่องลอกรอยฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตสามารถตรวจเก็บลอกรอยฝุ่นได้ โดยพบคุณภาพของรอยรองเท้าบนพื้นลามิเนตสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยของรอยที่ปรากฏ 90.85% สำหรับกระเบื้องยาง กระเบื้องเซรามิกและเสื่อน้ำมัน ให้ระดับคุณภาพของรอยรองเท้าที่ตรวจเก็บได้ใกล้เคียงกันรองลงมา พรมผ้าจะให้คุณภาพของรอยรองเท้าเปื้อนฝุ่นในระดับต่ำสุด ค่าเฉลี่ยของรอยที่ปรากฏ 6.72% เนื่องจากเป็นพื้นผิวไม่เรียบ มีรูพรุนสูง จึงตอบสนองต่อการประจุไฟฟ้าไม่ดีเทียบกับพื้นผิวชนิดอื่น ดังนั้น วิธีนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินและพิจารณาวิธีการตรวจเก็บรอยรองเท้าเปื้อนฝุ่นที่พบบนพื้นร่วมกับการบันทึกถ่ายภาพ เพื่อให้ได้รายละเอียดวัตถุพยานจากสถานที่เกิดเหตุและเชื่อมโยงการตรวจเปรียบเทียบอย่างมีประสิทธิภาพได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Bodziak, W. J., Hammer, L., Johnson, G. M., & Schenck, R. (2012). Determining the significance of outsole wear characteristics during the forensic examination of footwear impression evidence. Journal of Forensic Identification, 62(3), 254-278.
Craig, C. L., Hornsby, B. M., and Riles, M. (2006). Evaluation and Comparison of the Electrostatic Dust Print Lifter. Journal of Forensic Sciences, 51(4): 819-826.
Nhooma, T., Sangwaranatee, N., and Kulnides, N., (2018). The importance of footprints investigation in crime scene. Graduate School Conference 2018. June 29, 2018. Suansunandha University, Bangkok. (in Thai)
Sheets, H. D., Gross, S., Langenburg, G., Bush, P. J., & Bush, M. A. (2013). Shape measurement
tools in footwear analysis: A statistical investigation of accidental characteristics over
time. Forensic Science International, 232(1-3), 84-91.
Srihari, S. N. (2010). Analysis of footwear impression evidence. Final Technical Report. Washington, DC: US Department of Justice Office of Justice Programs, National Institute of Justice.
Sukkasem, W., and Anuragudom, P., (2019). Comparison of shoeprints on different surface materials with electrostatic dust print lifting. 16th Graduate School Conference. December 3-4, 2019. Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus. Nakhon Pathom. (in Thai)
Sukwat, S. (2002). Shoeprint Impression. Bangkok: Pimasksorn Limited Partnership. (in Thai)
Tang, Y., Srihari, S. N., Kasiviswanathan, H., & Corso, J. J. (2011). Footwear print retrieval
system for real crime scene marks. In Computational Forensics: 4th International
Workshop, IWCF 2010, Tokyo, Japan, November 11-12, 2010, Revised Selected
Papers 4 (pp. 88-100). Springer Berlin Heidelberg.
Wiesner, S., Tsach, T., Belser, C., & Shor, Y. (2011). A comparative research of two lifting methods: electrostatic lifter and gelatin lifter. Journal of Forensic Sciences, 56, S58-S62.
William, J. B. (2000). Footwear Impression Evidence 2nd. Ed New York: CRC Press.
Translated Thai References
ธีรสมร หนูมา, ณรงค์ สังวาระนที และ ณรงค์ กุลนิเทศ (2561). ความสำคัญของการตรวจรอยเท้าในสถานที่เกิดเหตุ. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “Graduate School Conference 2018”. 29 มิถุนายน 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
วนาสุข สุขเกษม และ พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม (2562). เปรียบเทียบรอยรองเท้าบนพื้นผิววัสดุต่างชนิดกันด้วยเครื่องลอกลายฝุ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 16. 3-4 ธันวาคม 2562. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.
สันต์ สุขวัจน์. (2545). รอยประทับของรองเท้า. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร.