การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่มีรูพรุนด้วยผงทัลคัมและผงฝุ่นขาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่มีรูพรุนสีเข้มด้วยผงทัลคัม และผงฝุ่นขาว การเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระทำโดยการทดลองตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่มีรูพรุนสีเข้ม 3 ชนิด ได้แก่ กระเบื้อง กระจก และ พลาสติก ด้วยระยะเวลาประทับนิ้วมือก่อนการตรวจเก็บที่แตกต่างกัน 5 ช่วงเวลา ได้แก่ ตรวจเก็บทันที, 1 วัน, 5 วัน, 7 วัน และ 14 วัน จากนั้นนำรอยลายนิ้วมือแฝงที่เก็บได้ด้วยวิธีการปัดฝุ่น มาทำการนับจุดลักษณะสำคัญพิเศษด้วยเครื่องตรวจสอบลายนิ้วมืออัตโนมัติ (Automated Fingerprints Identification System :AFIS) เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent T-Test เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ผงทัลคัม และผงฝุ่นขาว ในการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่มีรูพรุนสีเข้ม จากการวิจัยพบว่า การใช้ผงทัลคัมตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่มีรูพรุนสีเข้มทั้ง 3 ชนิด ด้วยระยะเวลาประทับนิ้วมือก่อนการตรวจเก็บที่แตกต่างกัน 5 ช่วงเวลา นั้นมีประสิทธิภาพในการตรวจเก็บไม่แตกต่างกับการใช้ผงฝุ่นขาว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Cosmetic Ingredient Review Expert Panel. (2012). Safety Assessment of Talc as Used inCosmetics.https://www.cirsafety.org/sites/default/files/talc122012tent_faa_final%20for%20posting.pdf. Date Accessed 5-6-2023.
Rakesh K. Garg, Harry Pal, Ramanjit Kaur. (2014). Application of new commonly available substance for the visualization of latent fingermarks : white cement. Problem of Forensic Science. 97, 5-13.
Thongthammachad, R. (2018). The Development of Fingerprint Powder Made from Black Rice Husk for Detecting Latent Fingerprints on Different Type of Surfaces [Master’s Thesis, Royal Police Cadet Academy].Forensic RPCA. https://drive.google.com/file/d
/1r_e_6Y1bBU4Jk44sqk-fvtQ_6mb_9Bcs/view. (In Thai).