รูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยแนวคิดการลดอันตรายจากยาเสพติด

Main Article Content

นิรมล ชื่นสงวน
สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการลดอันตรายจากยาเสพติด (2) ศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยแนวคิดการลดอันตรายจากยาเสพติด และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการลดอันตรายจากยาเสพติด โดยการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการลดอันตรายจากยาเสพติด จำนวน 33 คน และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นในการลดอันตรายจากยาเสพติด แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ประกอบด้วย (1) สถานการณ์ปัจจุบันของการลดอันตรายจากยาเสพติด (2) การขับเคลื่อนนโยบายการลดอันตรายจากยาเสพติด ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านบทบัญญัติทางกฎหมาย การบังคับใช้ และการขับเคลื่อนนโยบาย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ปัญหาและอุปสรรคด้านการขับเคลื่อนนโยบาย กฎหมายและการบังคับใช้ (2) ปัญหาและอุปสรรคด้านในบริหารจัดการและควบคุมมาตรฐานในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยวิธีการการลดอันตรายจากยาเสพติด (3) ปัญหาและอุปสรรคด้านการบูรณาการความร่วมมือ ผลการศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยแนวคิดการลดอันตรายจากยาเสพติด แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การเปรียบเทียบการลดอันตรายจากยาเสพติดของไทยและต่างประเทศ (2) รูปแบบการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคด้านกฎหมายและการบังคับใช้ (3) รูปแบบการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารจัดการ (4) รูปแบบการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคด้านการบูรณาการความร่วมมือ ผลการศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการลดอันตรายจากยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การกำหนดมุมมองในการแก้ไขปัญหายาเสพติด (2) การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ขัดต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา (3) การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ และ (4) การบูรณาการข้อมูล นอกจากนี้จากการวิจัยครั้งนี้ยังได้นำเสนอโมเดลในแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการลดอันตรายจากยาเสพติด โดยการใช้หลัก 3Re ประกอบด้วย Review (การทบทวน) Remedy (การปรับปรุงแก้ไข) และ Rebrand (การพลิกโฉม) โดยโมเดลดังกล่าวเกิดจากข้อค้นพบการวิจัยในครั้งนี้และมีขอบเขตในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการลดอันตรายจากยาเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานกำหนดนโยบาย และผู้วางแนวทางปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในช่วงเวลาที่ได้ทำการวิจัยในครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Becker, H.S. (1963). Outsiders: Studies in the Sociology of Deviance. New York: Free Press.

British Columbia Centre for Excellence in HIV/AIDS and Thai AIDS Treatment Action Group. (2011). Harm Reduction in Thailand: Evidence and Recommendations from the Community Partnership Research Project. Retrieved by https://www.bccsu.ca/wp-content/uploads/2016/10/mscrp-report-th.pdf.

Cooley, C.H. (1902). Human Nature and the Social Order. New York: Scribner.

Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Pattani Campus. (2016). A Mosque-Center Model of Participatory Prevention of Drug Problems: Case Studies of Ban Nua, KhoTau, Songkla and Ban Lum, Pasaeyawor, Saiburi, Pattani. Retrieved by https://cads.in.th/cads/media/upload/1566876945-58-B-010%20%E0%B8%94%E0 %B8%A3.%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%20%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%8B.pdf.

Khruakham S. (2015). Criminology and Criminal Justice. Nakhonprathom. Thailand.

Lertpanichpun, S. (2015). Research report on the study of drug law in different countries: Case studies of Japan, France, Switzerland, Germany, Portugal, the United Kingdom, and the United States. Bangkok: Office of the Permanent Secretary.

Ministry of Public Heath. (2017). Guidelines for Harm Reduction. Samut Sakhon: Born to be Publishing Co.,Ltd.

Office of the Council of State. (2019). Act on Legislative Drafting and Evaluation of Law B.E. 2562 (2019). Retrieved by https://www.krisdika.go.th/21ocs02

Office of the Narcotics Control Board (2017). Strategic Plan for the Prevention and Solution of Drug Problems 2015 - 2019. Retrieved by http://ppb.moi.go.th/midev03/ ?catalogy=news&id=1419&flag=

Rungsivaroj, N. (2020). Harm Reduction. Retrieved by https://www.chiangmaihealth. go.th/cmpho_web/document/180917153716747776.pdf.