บทวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินโดยใช้พยานหลักฐานทางดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงปัญหาของการดำเนินการกับทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อค้นพบซึ่งถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินโดยใช้พยานหลักฐานทางดิจิทัลที่เป็นปัญหาสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินในทางปฏิบัติ (2) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินในการสืบสวนขยายผลและดำเนินการกับทรัพย์สิน โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาโดย (1) เห็นควรให้มีการดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สอดรับกับการป้องกันและปราบรามการฟอกเงินตามแนวทางของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) (2) เห็นควรให้เร่งมีการปรับปรุงระเบียบตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้เป็นไปตามมาตรการทางการเงิน (FATF) (3) ควรมีการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรายงานข้อมูลและการจัดทำฐานข้อมูลกลาง และ (4) เห็นควรให้มีการกำหนดมาตรฐานในการรับรองพยานหลักฐานทางดิจิทัลตามแนวทางกฎหมายในต่างประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Buchanan, B. (2004). Money laundering-a global obstacle. Research in International Business and Finance, 18(1), 115-127. (In Thai).
Bunyophas, W. and Phanwichit, S. (2017). Guidelines for the development of laws and measures to deal with the property of human trafficking crime organizations. Research work under the project series Justice Process - Police Supported by the Thailand Research Fund (TRF). (In Thai).
Kusolwong, N. (2017). The problems’ analysis of money-laundering criminal cases in Thailand. Journal of Thai Justice System, 10(2), 97-119. (In Thai).
Pakdeethanakul, C. (2010). Explanation of the Evidence Law. Bangkok: Office of Legal Education Training of the Thai Bar Association. (In Thai).
Royal Academy. (2002). The Royal Institute's Dictionary, 1982. Bangkok: Aksorn Charoen Tat. (In Thai).
Thailand Development Research Institute. (2021). Money Laundering Trends in Thailand: A Case Study Money Laundering through Entities and Fronting Businesses lawyer and accountant travel agency Foreign trusts operating in Thailand Fraudulent share play and money laundering through non-profit organizations. Bangkok: Anti-Money Laundering Office. (In Thai).
The Civil Court and the Anti-Money Laundering Office. (2021). Handbook for judicial proceedings under the Anti-Money Laundering Act B.E. 2542 and the Anti-Terrorism and Proliferation of Weapons of Mass Destruction Financing Act B.E. 2559. Bangkok: Krung Siam Publishing. (In Thai).
Wattanawichian, S. (2011). Assessment and Weighing Evidence in Electronic Form. Institute for Judicial Development of the Court of Justice. (In Thai).