การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตลอดจนหาแนวทางในการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและลดพื้นที่จุดเสี่ยง ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพและการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ควบคู่ไปกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 รวมทั้งสิ้น 36 ราย อันนำไปสู่ผลลัพธ์เพื่อนำมาใช้ในการตอบวัตถุประสงค์การวิจัย โดยผลการศึกษาสามารถแบ่งประเด็นการวิจัยในหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้ ในประเด็นการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร พบว่า จุดเสี่ยงในการกระทำความผิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณชุมชนแออัดซึ่งสิ่งแวดล้อมโดยรอบมีสภาพเสื่อมโทรม ไฟฟ้าส่องสว่างเข้าไม่ถึง ในประเด็นลักษณะภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการกระทำความผิด พบว่า ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณที่ลับสายตาผู้คน มีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ และไฟฟ้าส่องสว่างเข้าไม่ถึง ในประเด็นเส้นทางสัญจรภายในพื้นที่ พบว่า จุดเสี่ยงต่อการกระทำความผิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณเส้นทางสัญจรที่มีลักษณะแคบกว่าปกติ เช่นทางเดินเท้าภายในชุมชน และมีเส้นทางเข้าออกหลายทาง และในประเด็นระยะห่างจากสถานีตำรวจ พบว่า ระยะทางจากสถานีตำรวจมีผลต่อการกระทำความผิดโดยยิ่งระยะทางห่างจากสถานีตำรวจมากเพียงใดยิ่งเป็นการเพิ่มช่องทางในการกระทำผิดมากขึ้น ส่วนแนวทางในการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ควรมีการวางแผนการใช้ที่ดินโดยมีการจัดโซนให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท ควรมีการเพิ่มการติดตั้งกล้องวงจรปิด และติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และควรมีการจัดวางเส้นทางเข้าออกภายในชุมชนอย่างเป็นระเบียบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Crime Suppression Division. (2007). Theory of crime control through environment design. Bangkok: Police Printing House.
Farrington, D.P., & Welsh, C. (2002). Effects of Improved Street Lighting on Crime: A SystematicReview. Home Office Research Study, 251.
Development and Statistics Directorate.
Ministry of Justice, Office of Justice Affair. (2009). Report on nationwide criminal statistics B.E. 2550 (2007) (The survey project 2008).
Bangkok: Office of Justice Affair Printing House, Ministry of Justice.
Poyner, B., & Webb, B. (1991). Crime Free Housing. London: Butterworths-Architecture. Recorded Crime Figures. (2008). Retrieved
September 12, 2008, from http://www.crimereduction.homeoffice.gov.uk/toolkits/db020101.htm
Purachai Piemsomboon. (1983). Crime control through environment design, theory and measure. Bangkok. Odion Store.
Purachai Piemsomboon. (1988). Basic of crime and the process of justice, problems, obstacles and control guidelines. Bangkok: Karn Pim
Pranakorn Partnership Ltd.
Shaw, Clifford R and Mckay ,Henry D. (1942). The Jack Roller. Chicago, IL: Unive rsity of Chicago. Press.
Sorensen, D. (2003). The nature and prevention of residential burglary: a review of the international literature with an eye towards
prevention in Denmark. Retrieved July 19, 2004, from http://www.jur.ku.dk/medarbejdere/davesorensen/Publikationer/ Nature.pdf
Taft, Donald R., and Ralph ,W. England. (1964). Criminology. New York: the Macmillan Company.
Tanet Ketsil et al., (2019). Environmental Factors and Hot Spot Areas of Juvenile Delinquency in Bangkok. National Research Council of
Thailand.
Upper Northeastern Meteorological Center. (2017). GIS Operation Manual for meteorological information presentation. Bangkok.