ความเที่ยงตรงของแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ Oxford (OxRec) ฉบับแปลภาษาไทย ในผู้ต้องขังที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ Oxford (OxRec) ฉบับแปลภาษาไทย โดยวิธีการศึกษา นำแบบประเมิน OxRec ฉบับแปลภาษาไทย ไปศึกษากับผู้ต้องขังที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ จำนวน 370 คน หาความเที่ยงตรงของแบบประเมิน โดยวิเคราะห์ค่าพื้นที่ใต้โค้ง (AUC) ค่าความไว ค่าความจำเพาะ และค่าทำนายผลทดสอบที่ระดับคะแนนต่าง ๆ ซึ่งผลการศึกษาแบบประเมิน สามารถจำแนกผู้ต้องขังที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ที่มีความเสี่ยงในการ กระทำผิดซ้ำและไม่มีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำออกจากกันได้ โดยมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.94 มีจุดตัดที่ร้อยละ 8 ขึ้นไป โดยให้ค่าความไว เท่ากับ ร้อยละ 84.2 ค่าจำเพาะ เท่ากับ ร้อยละ 97.9 ค่าทำนายผลทดสอบเชิงบวก (PPV) และเชิงลบ (NPV) เท่ากับ ร้อยละ 92.0 และ 95.6 ตามลำดับ
สรุป แบบประเมิน OxRec ฉบับแปลภาษาไทย มีความเที่ยงตรงที่เหมาะสม มีอำนาจการจำแนกผู้ต้องขังที่มีความเสี่ยงกับผู้ต้องขังที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำต่ำอยู่ในระดับดีมาก โดยแสดงให้เห็นว่าค่าร้อยละความเสี่ยงตั้งแต่ 8 ขึ้นไป จะมีประโยชน์มากในการทำนายว่าจะเกิด การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังต่อไปได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
กรมราชทัณฑ์. (2562ก). การสำรวจข้อมูลผู้ต้องขังที่กระทำผิดคดีอุกฉกรรจ์ร้ายแรงและมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/infosaraban62/letter/filepdf/
กรมราชทัณฑ์. (2562ข). ร่างแผนปฏิบัติราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ. 2563 – 2565. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม.
กรมราชทัณฑ์. (2563). รายงานแสดงสภาพความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/crowded_pdf.php?
filename=2020_2020-10-05
กรมราชทัณฑ์. (2564). เอกสารรายงานสถิติข้อมูลผู้ต้องขังตามแบบ รท. 103 กรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_
rt103_pdf.php?date=01-10-2021
เชมชยุตม์ โภคินจารุเสถียร. (2562). การใช้เรือนจำเอกชนในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 15(2), 94-106.
ทัพภาค สินพูลผล. (2559). ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนที่เกี่ยวกับคดีประเภทอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
สาธิต บุษยากุล. (2555). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชาย กรณีศึกษา เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Fazel, S., Chang, Z., Fanshawe, T., Långström, N., Lichtenstein, P., Larsson, H., & Mallett, S.
(2016). Prediction of violent reoffending on release from prison: Derivation and external validation of a scalable tool. The Lancet Psychiatry, 3(6), 535-543.
Fazel, S., Singh, J. P., Doll, H., & Grann, M. (2012). Use of risk assessment instruments to predict violence and antisocial behaviour in 73 samples involving 24827 people: Systematic review and meta-analysis. BMJ, 345, e4692.
Fazel, S., Wolf, A., Vazquez-Montes, M. D. L. A., & Fanshawe, T. R. (2019). Prediction of violent reoffending in prisoners and individuals on probation: A Dutch validation study (OxRec). Scientific Reports, 9, 841.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Van den Berg, J. W., Smid, W., Schepers, K., Wever, E., Van Beek, D., Janssen, E., & Gijs, L. (2018). The predictive properties of dynamic sex offender risk assessment instruments: A meta-analysis. Psychological Assessment, 30(2), 179-191.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.