ระดับความรู้ในการตรวจเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ในการตรวจเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวน สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ในระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชากรของพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 จำนวนทั้งสิ้น 664 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติเพียร์สันไคสแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกแบบสองกลุ่ม พบว่าพนักงานสอบสวนส่วนใหญ่ (78%) มีความรู้ในการตรวจเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ในระดับปานกลาง และยังพบว่าระดับความรู้และทักษะในการตรวจเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสบการณ์ (จำนวนปี) ในการปฏิบัติงานด้านการสอบสวน (χ2 = 24.433, p < 0.05) โดยช่วงประสบการณ์ที่มีค่า odd ratio สูงสุด คือ 16 ถึง 20 ปี มีค่าเท่ากับ 8.572 และระยะเวลาหลังการอบรมครั้งล่าสุดในด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุหรือนิติวิทยาศาสตร์ (χ2 = 31.242, p < 0.05) เป็นปัจจัยพยากรณ์ระดับความรู้ในการตรวจเก็บ วัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน โดยระยะเวลาหลังการอบรมครั้งล่าสุดที่มีช่วงระยะเวลามากขึ้น ส่งผลให้พนักงานสอบสวนมีระดับความรู้ในการตรวจเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ลดลง สามารถสรุปได้ว่าพนักงานสอบสวน สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 มีความรู้ในการตรวจเก็บ วัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและสมการถดถอยลอจิสติกที่วิเคราะห์ได้สามารถพยากรณ์ระดับความรู้ในการตรวจเก็บวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวนได้อย่างถูกต้องโดยเฉลี่ย ร้อยละ 75.3 และข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ดังนี้ พนักงานสอบสวนควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการตรวจสถานที่เกิดเหตุและความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องและจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุในคดีต่าง ๆ และความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวัตถุพยานประเภทต่าง ๆ ที่พนักงานสอบสวนสามารถสืบค้นหรือเรียนรู้ด้วยตนเองได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Central information Technology Center, Royal Thai Police. (2017). Criminal Statistics. Retrieved April 10, 2018, from https://pict.police.go.th/2560. (In Thai).
Chamsuwanwong, A. et al. (2001). Forensic Science 1 for Investigation. Bangkok: TCG Printing Company Limited. (In Thai).
Chuaphai. C. (2001). Development of inquiry officers to assist people according to the policy of the Royal Thai Police: a case study of the Metropolitan Police Headquaters. Master of Social Work, Thammasart University. (In Thai).
Hintao, K. (2017). Competency in Road Crash Investigation of Thai Police. Ph.D. in Forensic Science and Criminal Justice, Silpakorn University. (In Thai).
Julian, R., Kelty, S., & Robertson, J. (2012). “Get it right the first time”: Critical Issues at the Crime Scene. Current issues in criminal justice, 24(1), 25-37.
Luandee, S. and Suebpongsiri, S. (2018). To use the forensic evidences on the case-processing of the physical assault. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University. 5(1), 119-131. (In Thai).
Lueangphayung, M. (2010). The role of police officers and forensic physicians in the autopsy of homicide cases. Master of Science in Forensic Science, Silpakorn University. (In Thai).
Macamo, A. N. (2018). Development of Crime Scene Investigation in Maputo city, Mozambique. Interdisciplinary Journal, 18(2), 240-256.
Office of Police Forensic Science. (n.d.). Handbook for managing crime scene. Retrieved December 15, 2016, from https://www.forensic.police.go.th. (In Thai).
Rajagopal, K., Chye, T. T., Jeffery, J., and Sofian-Azirun, M. (2014). Forensic entomology in Malaysia: knowledge and practices. Asian Biomedicine, 8(5), 603-608.
Sankaew, K (2009). Development of crime scene investigations of police stations in the Provincial Police Region 8. Master of Science in Forensic Science, Silpakorn University. (In Thai).
Saenkaew, K. (2019). The Study on Knowledge and Understanding of Crime Scene Investigation of Police Enquiry Officers in Nakhon Pathom Province. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University. 14(2), 121-136. (In Thai).
Sopaboon, C., Pinkham, S. and Witchuvanit, W. (2020). The Study of Evidence Collection Process for Physical Injury Case of Inquiry officer in Metropolitan Police Division 1. Journal of Criminology and Forensic Science. 6(2), 89-103. (In Thai).
Supalaknari, S., Laoarun, W. and Wainiphithapong, C. (2021). Knowledge in Seeking Crime Scene Evidence of the Inquiry Officers. International Journal of Crime, Law and Social Issues, 8(2), 32-42.
Uamfung W. (2013). Knowledge and Opinions of Inquiry Officer About Collects Forensic Evidence in Metropolitan Police Division 7. Master of Science in Forensic Science, Silpakorn University. (In Thai).