The แนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการประทุษร้ายต่อทรัพย์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขในการตกเป็นเหยื่อ ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อ และศึกษาแนวทางป้องกันการตกเป็นเหยื่อ โดยมีการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามจำนวน 7 คน 2) ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จำนวน 5 คน และ 3) นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเขตพื้นที่จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเงื่อนไขในการตกเป็นเหยื่อประกอบด้วยนักท่องเที่ยวละเลยในการป้องกันตนเอง สภาพแวดล้อมมีความแออัด มีหลายสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในซอยลึกและเป็นมุมอับลับตา อุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจประกอบด้วย การสื่อสารภาษาต่างประเทศ กล้องวงจรปิดชำรุดเสียหาย มีไม่เพียงพอและไม่สามารถเรียกดูได้เป็นปัจจุบัน และแนวทางการป้องกันประกอบด้วยจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทุกคนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทราบข้อมูลการประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนภัย รวมถึงประยุกต์ใช้สถิติอาชญากรรมในการวิเคราะห์แผนที่อาชญากรรม แต่ละช่วงเวลา เพื่อการจัดสายตรวจเดินเท้าหรือตำรวจชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม และการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงเวลาและสถานที่เสี่ยงภัย และสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Cho, J.T. & Park, J. (2018). Exploring the effects of CCTV upon fear of crime: A multi-level approach in Seoul. South Korea: Elsevier.
Cohen, L.E. & Felson, M. (1979). Social change and crime rate trends: A routine activity approach. American Sociological Review 44: p.588-609.
Decharin, P. (1984). Policies and Strategies for Community Participation in the Current Development Strategies. Bangkok: Saksophonkarnpim. (In Thai).
Kantee, P. , Peetaleenaboot, T. and Wattanaboon, A. (2000). Criminology Theory and Research. Bangkok: Booknet. (In Thai).
Khruakham, S. (2015). Crime, Criminology and Criminal Justice. Nakornpathom: Phetchakasemkarnpim. (In Thai).
Piumsomboon, P. (1988). Basic Crimes and Justice. Problems and Obstacles and Control Solutions. Bangkok: Kanpimpanakorn. (In Thai).
Piumsomboon, P. (2007). Police Administration. Bangkok: Odientstore. (In Thai).
Teerapong, K. (2003). Police Patrol Problem and Obstacles in Crime Prevention In Pravesa Police Staion. Bangkok:Thammasart University. (In Thai).
Utaramart, A. (1999). Participation in crime prevention for tourists of the tourism personnel in Phuket Province. Nakornpathom: Mahidol University. (In Thai).
Wongdowthai, Y. (2006). Participation of Citizen in the Prevention of Crime. Chonburi: Burapha University. (In Thai).