ปัญหาทางกฎหมายในการจัดเก็บและการเก็บรักษาดีเอ็นเอผู้ต้องขังในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดีเอ็นเอ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บและการเก็บรักษาดีเอ็นเอผู้ต้องขังในประเทศไทย ศึกษากฎหมายเรื่องการจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากร่างกายของบุคคล การเก็บรักษาข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอและตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้กระทำความผิด รวมถึงหน่วยงานที่ควบคุมดูแลระบบฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติ โดยทำการเปรียบเทียบกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ของต่างประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางในการตรากฎหมายและการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษา พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้ต้องขังที่เป็นนักโทษได้ เนื่องจากกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากร่างกายของบุคคลที่อยู่ขั้นตอนกระบวนการก่อนศาลมีคำพิพากษา คือ ในชั้นสอบสวนและในศาลเท่านั้น มิได้ให้อำนาจไปถึงบุคคลที่อยู่ในขั้นตอนกระบวนการภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษา จึงเห็นสมควรให้มีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสามารถดำเนินการจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้ต้องขังได้ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น ผู้มีอำนาจจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ ประเภทฐานความผิด และเงื่อนไขในการจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอในขั้นตอนกระบวนการภายหลังศาลมีคำพิพากษา โดยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้ต้องขังได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมอย่างเช่นในต่างประเทศ นอกจากนี้ควรมีกฏหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอและตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้ต้องขัง อีกทั้งให้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติในประเทศไทย โดยให้มีหน่วยงานกลางในการควบคุมดูแลระบบฐานข้อมูลดีเอ็นเอนั้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Department of Corrections. (2019). A Memorandum of Understanding among Department of Corrections, Royal Thai Police and Central Institute of Forensic Science, Collecting DNA Data and 10 Fingerprint, Palm and Side Hand of Offenders/Inmates throughout the Country. January 3, 2019. (In Thai).
Department of Corrections. (2019). Recidivism rates of released prisoners released each fiscal year. Retrieved October 25, 2019. from http://www.correct.go.th/recstats/index.php/th/home. (In Thai).
Department of Corrections. (2020). Statistics of prisoners across the country. Retrieved February 10, 2020. From http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2020-02-01&report. (In Thai).
GeneWatch UK. (2011). DNA databases and human rights. GeneWatch UK Briefing. 4.
Krimsky, S. and Simoncelli, T. (2011). Genetic Justice: DNA Data Banks, Criminal Investigations, and Civil Liberties. New York: Columbia University Press.
Ministry of Justice. (2016). Performance Report from Government Policies and Directives of Prime Minister Prayuth Chan-Ocha in Monthly Report Fiscal Year 2014 Between 1 October 2015 and 31 August 2016. September 15, 2016. (In Thai).
Molko, R. (2010). The Perils of Suspicionless DNA Extraction of Arrestees Under California Proposition 69: Liability of the California Prosecutor for Fourth Amendment Violations? The Uncertainty Continues in 2010. Western State University Law Review. 193.
Pongsethasant, P. (2019). Deputy Commissioner of Office of Police Forensic Science, Royal Thai Police. Interview, 26 September.
Rojanasunan, P. (2001). Basic Knowledge of DNA Fingerprint. Bot Bundit. 87. (In Thai).
Sakulthai, V. (2015). Criminal History Record Centre. Master of Laws Thesis, Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai).
Sikakaew, L. (2004). DNA Fingerprint and Signature: Evidence in Forensic Science. New law NEWS journal. 43-49. (In Thai).
Sokhuma, R. (1996). DNA Fingerprinting in Criminal Prosecution. Bot Bundit. 196. (In Thai).
Tianprasit, T. (2005). Law on special methods of obtaining evidence in criminal case that effect individual rights and liberty. Master of Laws Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
Waiyawuth, W. (2019). Director of Forensic Science Standards Department, Central Institute of Forensic Science. Interview, 12 June.