การศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจที่มีผลต่อคุณภาพของลายมือเขียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจที่มีผลต่อลายมือเขียนและ 2) เพื่อเปรียบเทียบลายมือเขียนของบุคคลที่มีอัตราการเต้นของหัวใจตามสภาวะการเต้นของหัวใจที่ต่างกันโดยเปรียบเทียบลายมือเขียนของบุคคลที่มีอัตราการเต้นของหัวใจปกติ (60-100 ครั้ง/นาที) และอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าปกติ (120-140 ครั้ง/นาที) ผู้ทดสอบ คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อายุระหว่าง 20–25 ปี จำนวน 30 คน โดยให้ผู้ทดสอบที่มีสภาวะร่างกายปกติ ทำการเขียนด้วยปากกาหัวลูกลื่น จำนวน 3 ซ้ำ จากนั้นเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้ถึง 120 - 140 ครั้ง/นาที ด้วยการปั่นจักรยานไฟฟ้า แล้วเขียนอีกจำนวน 3 ซ้ำ โดยการวิเคราะห์คุณภาพลายมือเขียน จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ขนาดตัวอักษรแคบ ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาดตัวอักษรกว้าง ช่องไฟระหว่างตัวอักษร วรรค และแนวระดับการเขียน ซึ่งทำการวัดค่าด้วยโปรแกรม คอเรลดรอว์ กราฟิกส์ สวีท X7 (CorelDraw Graphics Suite X7) และ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยโดยวิเคราะห์ทางสถิติ Independent Samples T-Test ผลการวิจัยพบว่า คุณสมบัติของการเขียนในด้านการวรรค และแนวระดับการเขียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคุณสมบัติของการเขียน ในด้านขนาดตัวอักษรแคบ ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาดตัวอักษรกว้าง และด้านช่องไฟระหว่างตัวอักษรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ลายมือเขียนของบุคคลที่มีอัตราการเต้นของหัวใจทั้ง 2 ช่วงเวลาจะมีคุณสมบัติของการเขียนในด้านช่องไฟระหว่างคำ และแนวระดับการเขียนแตกต่างกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานด้านการตรวจพิสูจน์เอกสาร ควรระวังในการมองเห็นความแตกต่างด้านคุณสมบัติของการเขียน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Osborn S. & A., O (1991). Questioned document Problems: The discovery & Proof of the Facts. 2nd ed. Montclair,N.J. : Patterson Smith.
Pitsarn Phanwattana, P. (2017). The Handwriting Examinations shown in the Document. Journal of Criminology and Forensic Science, 3(2), 28-36. (In Thai).
Ralph Hodgson, R. (2011). Questioned Document Examination. Retrieved March 28, 2011. from www.drtomoconnor.com/3210/3210lect070.stm.
Surapon Chansomsak, S. (2012). Study of stress that signature analysis. Veridian E-Journal Silpakorn University, 5(2), 787-801. (In Thai).
Thanet Ketsil ,T. (2010). The comparison of individuals' handwriting before and after alcohol consumption. Independent research Master's degree Master of Forensic Science, Silpakorn University. (In Thai).
Wannisa Putthima, W. Nervous system . Retrieved June 5, 2017. from http://www.wunnisa. wordpress.com.