การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน

Main Article Content

วาชิณี ยศปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง “การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมาย ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ศึกษาสภาพปัญหาทบทวนและวิเคราะห์ข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน แล้วเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


จากผลการวิจัยพบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ทำการสอบสวนพยานผู้เสียหายและผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 133 ทวิ และมาตรา 134/2 สหวิชาชีพไม่สามารถคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้อย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 133 ทวิ พนักงานสอบสวนไม่มีค่าตอบแทนเหมือนกับสหวิชาชีพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 133 ทวิ การส่งรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในคดีที่มีการสืบเสาะเพื่อแสดงถึงข้อเท็จจริงของพนักงานคุมประพฤติล่าช้าตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 82 การขอให้ศาลออกหมายจับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 67 การตรวจสอบการจับกุมกรณีผู้จับกุมไม่ได้เดินทางไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 73 ระยะเวลาการนำตัวเด็กและเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมไม่ทันภายใน 24 ชั่วโมงตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 กรณีการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติหากการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติแล้วผลปรากฏว่า การปฏิบัติไม่ผ่านตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูจะทำให้การสอบสวนล่าช้าตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 86 การขาดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ที่ปรึกษากฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน และการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และเพื่อคุ้มครองป้องกันภัยแก่บุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ดังนั้น ควรปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 133 ทวิ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 มาตรา 73 มาตรา 82 (2) และมาตรา 88 และเสนอให้มีการออกข้อบังคับประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติออกหมายจับของศาล ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวจัดการฝึกอบรมให้ความรู้กับที่ปรึกษากฎหมาย และให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้อำนวยความสะดวกแก่พนักงานสอบสวนในการสอบสวน หรือจัดให้มีการสอบสวนผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanthong, W. (2013). Measures Governing the Interrogation of Children and Young Persons Committing Criminal Offences in Accordance with the Juvenile Family Court and Juvenile and Family Procedure Act of 2010. Master of Laws Thesis Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai).

Chaochan, T. (2009). Means to Improve the Investigation Process for Crimes Involving Children and Youths in Khon kaen Province. Master of Arts Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai).

Hanterdphongchai, S. (2008). Legal Problems in Child Interrogation at Investigation Level. Master of Law Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai).

Jaiharn, N. (2000). The Role of Psychologists and Social Workers in Child Interrogation in Criminal Cases: a Handbook for Conducting Child Interrogation Training and Examination. Nonthaburi: Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (In Thai)

Kaonopparat, W. (2009). The Separation of Victims from Human Trafficking. Bangkok: The Center for the Protection of Children’ s Rights Foundation. (In Thai).

Kasemsirisawat, S. (2007). Results of the Performance of the Multi-disciplinary Team in Combating Human Trafficking Under the MOU for Cooperation in 9 Northern Provinces. Independent Study Chiang Mai University, Chiang Mai. (In Thai).

Komut, R. (2010). Promoting the work of multidisciplinary teams for the protection of abused children Nonthaburi Province. Master of Laws Thesis Thammasat University, Bangkok. (In Thai).

Leevorawat, O. (2011). Problems with respect to the development of immovable property focus on a foreign investor for the purpose of residential business. Master of Law Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).

Likasitwatanakul, S. (2008). Study Project for the Development of Check and Balance System in Criminal Justice Process. Bangkok: The Thailand Research Fund. (In Thai).

Mektrairat, N. (2010). The Siam Revolution 1932. Bangkok: Amarin Academic. (In Thai)

Phuengnet, L. (2005). Work Strategies Development of Social Welfare Practitioners to Catch up with the Public Service Reform: A Case Study of the Bureau of Anti Trafficking in Women and Children. Master of Social Work Thammasat University, Bangkok. (In Thai).

Sihitulanont, V. (2018). Development of Collaboration Among Multidisciplinary Team in Juvenile Investigation. Nakhon Pathom: Police Cadet Academy. (In Thai).

Watthanaphanit, P. (1977). Criminal Justice System: Concepts of Crime Control and Legal process. Journal of Law Thammasat University. 9(2), 142-171. (In Thai).

Wattanachevakun, R. (1996). Corroborative Evidence: Comparative Study of Common Law. Master of Laws Thesis Chulalongkorn University, Bangkok (In Thai).