การศึกษาระยะเวลาการคงอยู่ของทองแดงบนร่องรอยรูกระสุนปืนบนผ้าฝ้ายโดยวิธีไดไทโอออกซาไมด์

Main Article Content

ณิช วงศ์ส่องจ้า
อังคณา เจริญพร
สิทธิศักดิ์ แผนไธสง
เบญจศิลป์ เหล่าวงษี

บทคัดย่อ

อาวุธปืนมักถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการก่ออาชญากรรม โดยจะทิ้งหลักฐานไว้ในที่เกิดเหตุ เช่น อาวุธปืน ปลอกกระสุนปืน ลูกกระสุนปืน รวมถึงสารตกค้างที่เกิดจากการยิงปืนคือ เขม่าปืนและเขม่า ดินปืน ตลอดจนร่องรอยรูกระสุนปืน ซึ่งทองแดงมักจะนำมาใช้ในการผลิตลูกกระสุนปืน จึงพบเป็นอนุภาคตกค้างบนร่องรอยรูกระสุนปืนที่เกิดจากการยิงปืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคงอยู่ของทองแดงบนร่องรอยรูกระสุนปืนบนผ้าฝ้าย 100% ในระยะเวลาการเก็บตัวอย่างต่างกันหลังการยิงปืน คือ ทันที, 1, 6, 12, 24, 48, 72 ชั่วโมง, 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน โดยวิธีไดไทโอออกซาไมด์ ทำการทดลองยิงจากอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติยี่ห้อ GLOCK รุ่น 21 ขนาด .45 และกระสุนปืนขนาด .45 ACP ชนิดทองแดงหุ้มตะกั่วในระยะยิง 20 นิ้ว ผลการทดลอง พบว่า สามารถพบขนาดร่องรอยของรูกระสุนปืนเฉลี่ยประมาณ 11.4 × 5.9 มม. และร่องรอยขอบดำบริเวณรอบรูกระสุนปืนขนาดเฉลี่ยประมาณ 12.8 × 11.3 มม. และเมื่อทดสอบทางเคมีโดยวิธีไดไทโอออกซาไมด์ พบว่า ร่องรอยของรูกระสุนปืนเกิดปฏิกิริยาเชิงบวกปรากฏเป็นสีเขียวแกมเทาบนกระดาษกรองในทุกระยะเวลาที่ทำการศึกษาหลังจากการยิงปืน และสามารถตรวจพบทองแดงบนร่องรอยรูกระสุนปืนที่ระยะยิง 20 นิ้ว ได้มากกว่า 1 เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bailey, A. J. (2005). Analysis of bullet wipe patterns on cloth targets. Journal of Forensic Identification, 55(4), 448-460.

Charuchinda, A. (2014). General knowledge about firearms and ammunition. For the Participants: firearms and ammunition inspection. Bangkok: Royal Thai Police. (In Thai).

Huiprasert, L. (2019). Gunshot wound and explosives. Retrieved 20 October 2020, from http://www.ifm.go.th/th/ifm-book/ifm-textbook/145-gun.html. (In Thai).

Lekstrom, J. A., Koons, R. D. (1986). Copper and Nickel Detection on Gunshot Targets by Dithiooxamide Test. Journal of Forensic Sciences. 31(4). 1283.

Pircher, R., Perdekamp M. G., Mierdel, K., Pollak, S., Emberge, T. A. and Geisenberger, D. (2019). Bullet wipe on the uppermost textile layer of gunshot entrance sites: may it be absent due to pre-existing blood staining?. International Journal of Legal Medicine, 133(5), 1437-1442.

Polnparkh, U. (2011). A Comparative Examination of Elements from Gunshot Residue and Other Sources. Master of Science Thesis Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Poruprasert, W. (2013). Determination of nitrates and nitrites in gunshot residues deposited on cloths by the technique of Ion-chromatography. Master of Science Thesis Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Roberts, A. K., Fischer G., Davis, R. A. (2019). Identification of polygonal barrel rifling characteristics in bullet wipe residue deposited on textiles. International Journal of Legal Medicine, 134(2), 533-542.

Suwanjuta, T. (1993). Forensic Medicine. 3d ed. Bangkok: Borpit Printing. (In Thai).

Suwannasri , P., Kiama, N. and Bootkrajang, P. (2016). Development of a Copper Test Kit on Traces of a Projectile. Retrieved 20 October, 2020, from https://www.coop.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=82. (In Thai).