การศึกษารูปแบบของการเสพพืชกระท่อมและพฤติการณ์การตายของผู้เสียชีวิตชาวไทยจากสถาบันนิติเวชวิทยา

Main Article Content

ภัทรพร ชดช้อย
ธีรินทร์ สินไชย

บทคัดย่อ

พืชกระท่อม (Mitragyna speciosa Korth) เป็นพืชเสพติดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย การเสพพืชกระท่อมยังคงเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย พบว่ามีการลักลอบเสพพืชกระท่อมโดยวิธีการเคี้ยวใบสด ต้มดื่มแบบน้ำชาหรือสูบควัน ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพื่อทำให้อดทนและมีแรงทำงานได้มากขึ้น ปัจจุบันพบว่ามีการเสพในลักษณะที่ทำเป็นเครื่องดื่มน้ำต้มใบกระท่อมผสมยาแผนปัจจุบันหรือยาเสพติดที่รู้จักในชื่อ“สี่คูณร้อย”เพิ่มสูงขึ้นและมีความหลากหลายของส่วนผสมมากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงทำการศึกษาแบบย้อนหลังเป็นเวลา 3 ปี ถึงรูปแบบการเสพ และพฤติการณ์การเสียชีวิต โดยเก็บข้อมูลผลการตรวจศพและผลตรวจทางพิษวิทยาในผู้เสียชีวิตคนไทยที่ส่งมาตรวจที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 0.94 (90 ราย) มีการเสพพืชกระท่อม โดยพบรูปแบบการเสพที่แตกต่างกันถึง 34 รูปแบบ มีเพียง 1 รูปแบบที่เสพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (ร้อยละ 24.4) ส่วนอีก 33 รูปแบบ เป็นการเสพเพื่อความบันเทิง นอกจากนี้พบว่า มีการใช้ยาเสพติด (เช่น เมทแอมเฟตามีนและกัญชา) และ/หรือ ยาแผนปัจจุบัน (เช่น ไดเฟนไฮดรามีน, ไฮดรอกซีซีน, เซทิริซีน, ไดอะซีแพม, โคเดอีน, และเด็กโทรเมทอร์ฟาน เป็นต้น) ผสมลงในเครื่องดื่มน้ำต้มใบกระท่อมหรือเสพร่วมกันด้วย จากความแตกต่างในเรื่องสูตรการเสพ“สี่คูณร้อย” ดังกล่าว การออกกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้การเสพพืชกระท่อมได้โดยไม่ผิดกฎหมายนั้น จึงควรมีการพิจารณาให้รอบคอบและรัดกุม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสาธารณสุขควรมีการบริหารจัดการกับแนวโน้มการนำพืชกระท่อมมาใช้ในทางที่ผิดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bokor, G. & Anderson, PD. (2014). Ketamine: an update on its abuse. Journal of Pharmacy Practice, 27(6), 582-6. https://doi.org/10.1177/0897190014525754

De Decker, K., Cordonnier, J., Jacobs, W., Coucke, V., Schepen, P. & Jorens, P.G. (2008). Fatal intoxication due to tramadol alone. Forensic Science International, 175(1), 79–82. https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2007.07.010

Goeringer, K.E., Logan, B.K. & Christian, G.D. (1997). Identification of tramadol and its metabolites in blood from drug-related deaths and drug impaired drivers. Journal of Analytical Toxicology, 21(7), 529–537. https://doi.org/10.1093/jat/21.7.529

Kronstrand, R., Roman, M., Thelander, G., & Eriksson, A. (2011). Unintentional fatal intoxications with mitragynine and O-desmethyltramadol from the herbal blend Krypton. Journal of Analytical Toxicology, 35(4), 242–247.

https://doi.org/10.1093/anatox/35.4.242

Laboratory and Scientific Section, United Nations Office on Drugs and Crime. (2013). The challenge of new psychoactive substances. A Report from the Global SMART Programme 2013. March 2013. Vienna, Austria.

Michaud, K., Augsburger, M., Romain, N., Giroud, C. & Mangin, P. (1999). Fatal overdose of tramadol and alprazolam. Forensic Science International, 105(3), 185–189. https://doi.org/10.1016/s0379-0738(99)00118-8

Shah, N. A., Abate, M. A., Smith, M. J., Kaplan, J. A., Kraner, J. C., & Clay, D. J. (2012). Characteristics of Alprazolam-Related Deaths Compiled by a Centralized State Medical Examiner. The American Journal on Addictions, 21, S27–S34. https://doi.org/10.1111/j.1521-0391.2012.00298.x

Thomas, A., Nallur, D., Jones, N., & Deslandes, PN. (2008). Diphenhydramine abuse and detoxification: a brief review and case report. Journal of Psychopharmacology, 23(1), 101–105. https://doi.org/10.1177/0269881107083809

Trakulsrichai, S., Tongpo, A., Sriapha, C., Wongvisawakorn, S., Rittilert, P., Kaojarern, S., & Wananukul, W. (2013). Kratom Abuse in Ramathibodi Poison Center, Thailand: A Five-Year Experience. Journal of Psychoactive Drugs, 45(5), 404–408. https://doi.org/10.1080/02791072.2013.844532

Tungtananuwat, W., & Choenkhwuanma, S. (2009). Risk of methamphetamine abuse promoted cerebro-cardiovascular defects in Thai cadavers which sent to autopsy at Institute of Forensic Medicine, Thailand. Journal of Health Research, 23(3), 147-151. (In Thai)

Tungtananuwat, W., & Lawanprasert, S. (2010). Fatal 4x100; Home-Made Kratom Juice Cocktail. Journal of Health Research, 24(1), 43-47. (In Thai).

Wolf, B. C., Lavezzi, W. A., Sullivan, L. M., Middleberg, R. A., & Flannagan, L. M. (2005). Alprazolam-Related Deaths in Palm Beach County. The American Journal of Forensic Medicine and Pathology, 26(1), 24–27. https://doi.org/10.1097/01.paf. 0000153994.95642.c1

Zhuo, X., Cang, Y., Yan, H., Bu, J., & Shen, B. (2010). The prevalence of drugs in motor vehicle accidents and traffic violations in Shanghai and neighboring cities. Accident Analysis & Prevention, 42(6), 2179–2184.

https://doi.org/10.1016/j.aap.2010.07.004