ความรู้และความเข้าใจในการรักษาสถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุมินตรา แสนแก้วกาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมในการรักษาสถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยาน สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 292 คน และ การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจในการรักษาสถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยานในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอนพบว่า ขั้นตอนเมื่อได้รับแจ้งเหตุจะออกปฏิบัติการไปยังสถานที่เกิดเหตุทันทีเป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 รองลงมาคือ เมื่อเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันหรือตามหลักการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรค ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 และกรณีพบศพในที่เกิดเหตุควรรักษาสภาพเดิมของศพไว้ไม่เคลื่อนย้ายและสามารถแนะนำญาติเกี่ยวกับการรักษาสภาพเดิมของศพจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการจะมาถึงที่เกิดเหตุ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 ตามลำดับ สำหรับปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า มี 4 ด้าน คือ 1) บุคลากรขาดความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในด้านการกั้นสถานที่เกิดเหตุและการเก็บวัตถุพยานที่พบในผู้ป่วยขณะให้การพยาบาล 2) ขาดงบประมาณในการสนับสนุนจากหน่วยงานหลัก 3) ขาดเครื่องมือ เครื่องใช้ และความรู้ในการใช้เครื่องมือ 4) ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย ญาติ และพยานในที่เกิดเหตุ สำหรับแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดนนทบุรี ในการรักษาสถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนก่อนออกปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมของทีมเพื่อความรวดเร็วและปลอดภัย 2) ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำลายหลักฐาน กรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บควรนำส่งผู้ได้รับบาดเจ็บก่อนเป็นอันดับแรกและบันทึกการช่วยเหลืออย่างละเอียด และกรณีพบศพในที่เกิดเหตุควรรักษาสภาพเดิมของศพไว้ไม่เคลื่อนย้าย 3) ขั้นตอน การดูแลผู้เจ็บป่วยขณะนำส่ง เก็บและบันทึกหลักฐานที่พบในขณะทำการรักษาพยาบาลลงในใบบันทึกการออกปฏิบัติการและส่งมอบข้อมูลแก่พยาบาลห้องฉุกเฉิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Engsomboon, S. (2008). Crime Scene Investigation. Nakhon Pathom: Royal Police Cadet Academy. (In Thai).

Faculty of forensic science, Royal Police Cadet Academy, (2008). Crime scene protection. Retrieved 25 November 2019, from https://bit.ly/3y17Aii. (In Thai).

Kerdwichai, N. (2003). Code of Civil Procedure and Criminal Procedure. Bangkok: Nitinai. (In Thai).

Leeds, C. (2009). Criminal Procedure (Attendance of Witnesses). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University. (In Thai).

Makasiranon, K. (2014). Building the Learning Organization. Bangkok: S. Asia Press. (In Thai).

NIDA Poll. (2017). The problem of organized crime in Thailand. Retrieved 30 December 2019, from http://nidapoll.nida.ac.th/ index.php?op=polls-detail&id =556. (In Thai).

Office of Forensic Science. Crime Scene Management. Retrieved 25 November 2019, from http://www.forensic.police.go.th/FS/html/download/phakatedited.pdf. (In Thai).

Tuntanapornchai, W. (2016). Influential Factors on Crime Scene Investigation of Police Officers in Metropolitan Police Division 6. Research 4.0 Innovation and Development SSRU’s 80th Anniversary. March, 20 – 2018, Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok, Thailand. (In Thai).

Uttha, T. (2012). Study of Crime Scene and Physical Evidence Protection of Foundation Officer in Chonburi Province. Master of Science Program in Forensic Science, Graduate School, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Wongsri, K. (2013). The EMS System in Thailand. Moving Towards the Center of Excellence in ASEAN. October 8 - 11, 2013. Khon Kaen University. Khon Kaen. Thailand. (In Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.