รูปแบบการจัดทำฐานข้อมูลคนหายและศพนิรนามในประเทศไทย

Main Article Content

รัชดาภรณ์ มรม่วง
สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา อุปสรรคการจัดเก็บข้อมูล และฐานข้อมูลคนหายและศพนิรนามในประเทศไทย 2) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดทำฐานข้อมูลคนหายและศพนิรนามในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการบันทึกข้อมูลคนหาย คนนิรนาม และศพนิรนาม โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการยุติธรรมจำนวน 4 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 340 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในงานด้านคนหาย คนนิรนาม และศพนิรนาม จำนวน 17 คน ด้วยวิธีเทคนิคเดลฟายและหลักของการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาร่วมกับข้อสรุปข้อมูลเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอุปสรรคแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรไม่เพียงพอและยังขาดองค์ความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติ 2) ด้านงบประมาณยังขาดแคลนงบประมาณในการสืบสวนติดตาม 3) ด้านระบบการจัดการยังไม่มีการกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 4) ด้านเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ยังขาดเครื่องมือและสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้รูปแบบการจัดทำฐานข้อมูลคนหายและศพนิรนามในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยการการพัฒนาระบบและบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน
ระยะที่ 2 ระบบการนำเข้าข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
ระยะที่ 3 การพัฒนาต่อยอดโดยการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้สนับสนุนการพิสูจน์บุคคล เช่น การพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาประยุกต์ใช้ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ali, H., Brown, N., Chiro, L., Dillinger, E., Droder, E., Hanby, J., and Yosafat, J. (2011). Recovery and identification of the missing after disaster: Case studies, ethical guidelines and policy recommendations. N.P. Retrieved November 6, 2016, from http://www.cmu.edu/hss/ehpp/documents/2011-Recovery-andIdentification-of-the-Missing-after-Disaster.pdf

Chantavanich, S. (2009). Data Analysis in Qualitative Research. (9th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Printery. (In Thai).

Grant, S. (2015). Migrant deaths at sea: Addressing the information deficit. Migration Policy Practice, 1, 9-16. Retrieved October 20, 2016, from http://publications.iom. int/system

ICRC. (2014). The ante-mortem / post-mortem database: An Information management application for forensic data. Ref. 4155. Switzerland: Author.

IOM Global Migration data analysis center. (2020). Missing Migrants Project. Retrieved August 1, 2020, From https://missingmigrants.iom.int/about.

Maurer. C. (2016). Missing persons and unidentified remains: Opportunities may exist to share information more efficiently. In Report to congressional committees (GAO-16-515). Washington,DC: U.S. Government Accountability Office.

Somjai. S. (2015). The study of recording system and retrieval system of missing person. Bangkok : Suansunadha University. (In Thai).