แนวทางการปฏิบัติงานของทนายความในคดีปลอมแปลงเอกสาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานของทนายความในคดีปลอมแปลงเอกสาร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ทนายความที่เคยมีประสบการณ์ว่าความในคดีปลอมแปลงเอกสาร จำนวน 10 ราย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงาน รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีปลอมแปลงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนการส่งตรวจพิสูจน์พยานเอกสารมีอยู่ 2 กรณี กรณีแรกพนักงานสอบสวนเป็นผู้ส่งพยานเอกสารไปตรวจพิสูจน์ กรณีที่สองเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งพยานเอกสารไปตรวจพิสูจน์ และหน่วยงานที่ส่งพยานเอกสารไปทำการตรวจพิสูจน์ คือ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีปลอมแปลงเอกสาร คือ บุคลากร และหน่วยงานที่ส่งตรวจพิสูจน์ กล่าวคือ เจ้าหน้าที่มีการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุ เก็บพยานหลักฐานอย่างถูกต้องเหมาะสม มีห่วงโซ่การครอบครองพยานหลักฐานโดยตลอด มีเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจพิสูจน์ที่มีองค์ความรู้และมีประสบการณ์ด้านการตรวจพิสูจน์เอกสาร รวมถึงหน่วยงานที่ส่งตรวจพิสูจน์เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ ปัญหาและอุปสรรคในการตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร คือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจพิสูจน์เอกสารมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับปริมาณงาน เนื่องจากการตรวจพิสูจน์จะต้องทำการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เมื่อมีปริมาณพยานเอกสารมากเกินกว่ากำลังการทำงานจึงส่งผลให้การวิเคราะห์ผลล่าช้า เพราะผู้ปฏิบัติงานมีจำนวนไม่สมดุลกับปริมาณงาน ข้อเสนอแนะในการพัฒนาด้านการตรวจพิสูจน์เอกสาร พบว่าควรมีการสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงพอต่อปริมาณงาน จัดอบรมให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2.The justice grop. (2011). Criminal code Revise. Bangkok. Pimasol. (In Thai).
3.Padawan, K. (2013). Prosecutor perpective underpinning per verification to forensic science : studies and documentation proofing only opposed to counterfeiting hangwriting and signature. Master of Science Thesis, Faculty of Science, Silpakron University. (In Thai).
3.Pakdeetanakul, J. (2018). Explain the witness law. 13th Edition. The Thai bar uader the Royal Patronage. (In Thai).
4.Tasniyom, J. (2015). Reliance of the lawyer and the Trainees in Practcei subiect on specialist in identification forgery. Master of Science Thesis, Faculty of Science, Silpakron University. (In Thai).
5.Velaves, J. (2012). Prosecution Guide Guidelines for Detention and Fighting Embezzlement. Bangkok. Nititum. (In Thai).
6.Tongputoon, M. (2018). Trust rert on the verification of the documents in Criminal forensic science estate fraud. Graduate School Conference, 403-410
(In Thai). Suan Sunandha Rajabhat University. (In Thai).
7.Jeeramongkolpanich, P. (2018). Law of Evidence Document. 4th Edition. Bangkok.
Duadtla publisher. (In Thai).
8.Suwannamut, A. (2013).Guidelines to develop work systems and promote trustworthiness of forensic document examnation and forgery : Case study of the inquiry officers attending proficient training couse series 1. Master of Science Thesis, Faculty of Science, Silpakron University. (In Thai).
9.Panwattana, P. (2017). The Signature Verification by Digital Signature Detection Program. Jounal of Criminology and Forensic Science, 3(1), 12-19 (In Thai).
10.Panwattana, P. (2017). The Handwriting Examinations shor in the Document. Jounal of Criminology and Forensic Science, 3(2), .28-36 (In Thai).
11.Panichayakui, P. (2012). Attachment of oerson the document without. Master of Laws Thesis, Facult of Law, Thammasat University. (In Thai).
12.Office of the Counil of State, (2011). Lawyers Act. July 31, 2019. from http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%B701/%B701-20-2528-001.pdf. (In Thai).
13.Po]sik, A. Suebpongsiri, S. Chiyarangsinan, Ch. (2016). Applications of the ESDA in demonstrate handwriting and document examination for forensic science.
Jounal of Criminology and Forensic Science, 2(1), 45-59 (In Thai).
14.Boontongma, A. (2016). Exam guide Law of Evidence. Bangkok. Winyuchon. (In Thai).
15.Chamsuwan, A. (2003). Forensic Science 2 for Criminal Investigation. 4th Edition. Bangkok. G.B.P. Center. (In Thai).