การวิเคราะห์โครงสร้างผิวชั้นนอกของเส้นผมในผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างผิวชั้นนอกของเส้นผมในผู้ที่ใช้สารเสพติดแต่ละประเภท และจำแนกการใช้สารเสพติดจากเส้นผม ด้วยเทคนิคการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) โดยเก็บตัวอย่างเส้นผมของผู้ที่ใช้สารเสพติด ประเภท แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน กัญชา ยาอี เคตามีน และกระท่อม แอมเฟตามีนร่วมกับเมทแอมเฟตามีน รวมทั้งสิ้น 65 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่าเส้นผมของผู้ที่ใช้สารเสพติดแต่ละประเภท จะพบการถูกทำลายโครงสร้างผิวชั้นนอกของเส้นผม (Cuticle) ในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างเส้นผมที่โครงสร้างผิวชั้นนอกถูกทำลายมากที่สุด คือ เส้นผมของผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน รองลงมาคือ แอมเฟตามีน และกัญชา ซึ่งเส้นผมของผู้ที่ใช้กัญชาจะพบลักษณะที่สำคัญร่วมด้วย คือ พบลักษณะการนูนหรือโป่งออกมาจากบริเวณผิวชั้นนอกของเส้นผม สำหรับโครงสร้างผิวชั้นนอกของเส้นผมที่ไม่ถูกทำลาย คือ เส้นผมของผู้ใช้สารเสพติดประเภทกระท่อม จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างผิวชั้นนอกของเส้นผม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกการใช้สารเสพติดแต่ละประเภทได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Balíková, M. (2005). Hair analysis for drugs of abuse. Plausibility of interpretation. Biomedical papers of the Medical Faculty of the University Palacky, Olomouc, Czech Republic, 149(2), 199–207.
Bangkok Health Research Center, 2014) Human Hair cycle. Retrieved June 4, 2018. Bangkok Health Research Center. From https://www.bangkokhealth.com/health-1624. (In Thai).
Baumgartner, A., Jones, P.F., Baumgartner, W.A., and Black, C.T. (1979). Radioimmunoassay of hair determining opiates abuse history. Journal of Nuclear Medicine, 20, 748-752.
Henderson, G.L. (1993). Mechanisms of drug incorporation into hair. Forensic Science lnternational, 63, 19-29.
Kitchainukoon, D. (2004). Knowledge of Scanning Electron Microscope. Retrieved April 19, 2018. From http://www.dss.go.th/images/st- article/pep_4_2547_sem.pdf. (In Thai).
Laohacharoensombat, S., Tantarawingsa, S., and Pachamud, T. (2012). Hair removal with Chemical. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 7(2), 106-110.
Leelapojana, A. Guidelines for drug testing in Human hair. Fornsic Chemistry Central Institute of Forensic Science (In Thai).
Mahacharoen, T. (2003). Determination of methamphetamine in human hair. Thai Thesis from Academic Institution. Faculty of graduate student Mahidol University. (In Thai).
Office of the Narcotics Control Board. (1997). Introduction to Drugs abuse. Office of the Narcotics Control Board. (In Thai).
Turkmenoglu, F.P., Kasirga U.B., and Celik H.H. (2015). Ultra-structural hair alterations of drug abusers: a scanning electron microscopic investigation. International Journal of Clinical and Experimental Medicine, 8(6), 8803-8811.