การศึกษาความแตกต่างของลักษณะสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติทางแสงของเส้นขนสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์

Main Article Content

ธีราภรณ์ ศรีนิเวศน์
ธิติ มหาเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างลักษณะทางกายภาพและทางแสงของเส้นขนสัตว์ป่าสงวนแต่ละชนิดด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยชนิดของสัตว์ป่าสงวนจากค่าการหาค่าดัชนีแนวแกนกลางเพื่อสร้างฐานข้อมูลลักษณะสัณฐานวิทยาของเส้นขนสัตว์ป่าสงวนในไทย


การศึกษาครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเส้นขนสัตว์ป่าสงวนจำนวน 9 สายพันธุ์ 13 ชนิด กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเส้นขนของสัตว์ป่าสงวนในไทย ซึ่งได้นำมาจากสวนสัตว์ดุสิตและสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ กรุงเทพมหานคร โดยทำการเปรียบเทียบโครงสร้างเส้นขนบริเวณชั้นแกนกลางเส้นขน ผิวด้านนอกเส้นขน และรากขนในกำลังขยายที่ 200X และ 400X ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ 3 เทคนิคคือ การส่องด้วยแสงโพลาไรซ์ การตัดแสงของภาพ และการหาค่าดัชนีแนวแกนกลางของเส้นขนเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยาของเส้นขน จากการทดลอง พบว่า เส้นขนของสัตว์แต่ละชนิดมีโครงสร้างที่แตกต่างกันแม้จะมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาจากค่าความแตกต่างทั้งลักษณะสัณฐานของเส้นขนที่ส่องด้วยแสงโพลาไรซ์ สีของเส้นขนที่เกิดจากการตัดแสงของภาพ และหาค่าดัชนีแนวแกนกลางของเส้นขนที่เกิดจากการเทียบกันระหว่างความกว้างของชั้นแกนกลางเส้นขนกับความกว้างของเส้นขนทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่าในสัตว์บางชนิดการวิเคราะห์เพียงเทคนิคเดียวยังระบุความแตกต่างชนิดของเส้นขนสัตว์ได้ยาก แต่เมื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลด้วย 3 เทคนิคร่วมกัน ผลของสัณฐาน สี และค่าดัชนีแนวแกนกลางของเส้นขนจะให้ผลที่แตกต่างกันชัดเจน


งานวิจัยนี้จะช่วยพัฒนาให้มีฐานข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะของเส้นขนสัตว์ป่าสงวน
ในประเทศไทย สามารถใช้แทนการตรวจดีเอ็นเอในกรณีที่ร่างกายสัตว์โดนทำลายไปแล้วได้และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonyapat, S. (2010). Estimation of age of human seminal stains by Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR). Master of Science Thesis. Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Central Information Technology Center. (2020). Criminal offense statistics. Retrieved February 5, 2020. from http://pitc.police.go.th/dirlist/dirlist.php?dir=/crimes

Emilia Lachica. (1997). Study of semen stains by scanning electron microscopy. Influence of their ageing. Journal of Forensic Science International. 91(1), 35-40.

Handbook of Advance Analytical The Center for Scientific and Technological Equipment, Suranaree University of Technology. (2012). Scanning Electron Microscope (SEM). Retrieved April 25, 2019. from http://cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/JR21ntIUgWAa.pdf

Hazelwood RR, Burgess AW. (1995). Practical aspects of rape investigation : A Multidisciplinary Approach. 2nd Edition. New York: CRC Press.

Imsin, A. (2015). Detection of Seminal Stains on ceramic tiles and fabrics by Attenuated Reflection Fourier Transform Infrared Spectroscopy (ATR-FTIR). Master of Science Thesis. Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Onlamay, S. (2011). PSA Detection of samples with seman under different environment in study. Master of Science Thesis. Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Tibkorn, K. (2013). Examination of seminal stain by Attenuated Total Reflection Infrared Spectroscopy. Master of Science Thesis. Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).