การพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชน ของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน

Main Article Content

กรรณิกา กุกุดเรือ

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมและความต้องการคุณสมบัติด้านอาชีพของสถานประกอบการ และ 3) สร้างและพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอาชีพ สำหรับเด็กและเยาวชนของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน แบ่งกลุ่มประชากรเป้าหมาย ตามเกณฑ์ภูมิศาสตร์ และคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจงในการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งสิ้น 50 คน และการสนทนากลุ่ม เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งหมด 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 30 คน


ผลการวิจัย  พบว่า


  1.  แนวทางการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ คือการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับเครือข่ายอาชีพให้เป็นรูปธรรม ออกแบบและปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาทักษะให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และตามความต้องการของเด็กและเยาวชน เน้นการพัฒนา Soft Skills สร้างมาตรฐานครูฝึก สร้างภาพลักษณ์ที่ดี รวมถึงเตรียมความพร้อมครอบครัวและเครือข่ายชุมชน

  2.  แนวทางการเตรียมความพร้อมและความต้องการคุณสมบัติด้านอาชีพ พบว่า สถานประกอบการไม่เน้นทักษะใดเป็นพิเศษ ความต้องการที่สำคัญคือ ด้านจิตใจและพฤตินิสัยที่ดี ดังนั้น แนวทางในการเตรียมความพร้อม คือสำรวจความต้องการของตลาดแรงงาน และสร้างแนวทางการประสานความร่วมมือให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมกับเครือข่ายที่หลากหลาย

  3.  แนวทางการสร้างและพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอาชีพ คือ การสร้างฐานข้อมูลร่วม บูรณาการทำงานร่วมกันในรูปคณะกรรมการ เสริมแรงจูงใจ โดยการสนับสนุนเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ เช่น การลดภาษี การออกเป็นกฎหมาย หรือการประกาศเกียรติคุณ เป็นต้น

         อีกหนึ่งข้อค้นพบสำคัญคือ องค์ความรู้ความต้องการคุณสมบัติด้านอาชีพ และเครือข่ายสถานประกอบการที่พร้อมรองรับ จำนวน 49 แห่ง ข้อเสนอแนะการใช้ประโยชน์จากผลสำเร็จของโครงการคือ 1) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดทำข้อตกลงร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างแนวทางที่ชัดเจนในระดับนโยบาย สร้างทำเนียบบัญชีเครือข่าย และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง 2) ศูนย์ฝึกและ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ควรออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สร้างมูลค่าให้เด็กและเยาวชน
เน้นการพัฒนา Soft Skills และความร่วมมือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Altschuler D.M., and Brush R. (2004). Adolescent and Teenager Offenders and Confronting The Challenges and Opportunities of Reentry. Youth Violence and Juvenile Justice, 2(1), 72-87.

Department of Juvenile Observation and Protection (2018). Department of Juvenile Observation and Protection Policy Fiscal Year 2019 - 2020. Retrieve. January 22, 2019. from http://www.djop.go.th/Djop/images/P-2562%20.pdf. (In Thai).

Dixon, J., Belnap, C., Albrecht, C., and Lee, K. (2010). The Importance of Soft Skills. Corporate Finance Review, 14(6), 35-38.

Inta, M. (2019). Soft Skills: The Essential Skills to be Professionalism of the Modern Teachers. Journal of Education, 20(1). 153–167.

Maslow, A. H. (1954). Motivative and Personality. New York: Harper and Row.

Sangsuwan, T. (2017). The Role of Network in Community Energy Management: A Case Study of Singburi Renewable Energy Group. Master of Science Thesis, The National Institute of Development Administration, Bangkok. (In Thai).

Sinloyma, P. et al. (2017) The Paradigm Shift of Thai Juvenile Recidivists to Reconstruct Value of Life Before Reintegration. The Thailand Research Fund. (In Thai).

Sutham, Y. et al. (2018). A Model of Participation between Community Justice Centres and Chachoengsao Central Prison That Aiming to Return the Good Citizens Back to Their Communities. ARU Research Journal, 5(1). 25-32.

Thailand Institute of Justice. (2019). Culture of Social Reintegration in Thailand. Retrieved January 5, 2019. from https://Thaipublica.Org/2018/08/Tij-Forum-Social- Reintegration. (In Thai).