อาชญากรรมข้ามชาติ: การใช้บัตรเครดิตปลอมของอาชญากรข้ามชาติรัสเซีย และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก (กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช) ในประเทศไทย

Main Article Content

นวภัทร สมกำเนิด
ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม

บทคัดย่อ

         ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคมนาคมของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ในศตวรรษที่ 21 ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมของยุคที่มีการติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ให้ติดต่อกันได้สะดวก ความจำเป็นของการใช้เงินสดหรือชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดลดน้อยลง เพราะมีบัตรเครดิตหรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แทนการชำระด้วยเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการ จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ชำระหนี้ หรือเบิกถอนเงินสด เกิดการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน เกิดการอพยพและเคลื่อนย้ายแรงงานได้สะดวกขึ้น เกิดการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ และเกิดการอำนวยความสะดวกทางด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบแก่มนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของมนุษย์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง และความมั่นคงของประเทศ จะเห็นว่าปัญหาการใช้บัตรเครดิตปลอมเป็นหนึ่งในปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก


         บทความนี้มุ่งศึกษา สภาพของปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ กรณีศึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตปลอม ปัจจัยของการใช้บัตรเครดิตปลอมในประเทศไทยของอาญากรข้ามชาติชาวรัสเซียและยุโรปตะวันออกในประเทศไทย และปัญหาขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่เข้ามากระทำความผิดในประเทศไทย พร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. Akers, Ronald L. (1985). Deviant Behavior: A Social Learning Approach. Belmont, CA: Wadsworth.

2. Argument. (2013). Rise and fall of CarderPlanet through the eyes of a traffic participant. Retrieved January 08, 2019. From https://argumentua.com/stati/vzlet-i-padenie-carderplanet-glazami-uchastnika-dvizheniya. (In Russian).

3.Bogomolov, A.N. (2015). The history of crime in the financial credit system of Russia. The territory of science. 1, 117-122. (In Russian).

4. Boonyobhas., V. & Planwichit, S. (2014). Economic crime. Bangkok, Thailand: Nititham. (In Thai)
Derek, B. C. & Ronald, V. C. (1986). The Reasoning Criminal. New York: Springer-Verlag.

5. Gobunov, A.N. (2017). Method of illegal use of plastic cards in the commission of crimes. Society and law. 3(45), 217-221. (In Russian).

6. Kanchanakit, C. (2016). Challenges to ASEAN states in combating transnational crime. Journal of Social Sciences. 46(1), 51-77. (In Thai).

7. Khorokhorin, V. (2016). The history of the creation of the world's largest hacker form. Retrieved January 08, 2019. From https://dni24.com/exclusive/99882-carderplanet-istoriya-sozdaniya-krupneyshego-v-mire-hakerskogo-foruma.html. (In Russian).

8. Media Brest. (2017). How the world's largest forum of cybercriminals CarderPlanet was created. Retrieved January 08, 2019. From https://mediabrest.by/people-news/%D0%BE%D0%B1%D0%BE-%D0%B2%D1%81%D1%91%D0%BC/kak-sozdavalsya-krupneyshiy-v-mire-forum-kiberprestupnikov-carderplanet.(In Russian).

9. Punyopashtambha, A. (2011). Credit Card Crime Network in Thailand: The Case Study of The Department of Special Investigation. Ph.D. Thesis. Mahidol University, Bangkok.

10. Roujanavong, W. (2005). Transnational crime: Threat to society. Bangkok, Thailand: Matichon Public Company Limited. (In Thai).

11.Sutherland, E.H. (1940). White Collar Criminality. American Sociological Review. 5, 1-12.