การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณความเข้มข้นของเอทิลแอลกอฮอล์ในน้ำวุ้นลูกตาและเลือด ด้วยเทคนิคเฮดสเปซแก๊สโครมาโทกราฟี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดและน้ำวุ้นลูกตาที่ตรวจวัดด้วยเทคนิคเฮดสเปซแก๊สโครมาโทกราฟี โดยใช้ข้อมูลการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในน้ำวุ้นลูกตาและเลือดจากศพผู้เสียชีวิตจำนวน 100 ศพ ที่ถูกส่งตรวจที่หน่วยงานตรวจพิสูจน์ทางเคมี สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2559 โดยในศพผู้เสียชีวิต 1 ศพจะถูกเก็บตัวอย่างเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์จำนวน 2 ตัวอย่าง คือเลือดและน้ำวุ้นลูกตา ทำการตรวจวัดภายใน 72 ชั่วโมง โดยผู้เชี่ยวชาญ
ผลจากการศึกษาพบว่า ปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในตัวอย่างเลือดและน้ำวุ้นลูกตามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก ค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.988 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และจากการทดสอบทางสถิติ t-test พบว่า ความเข้มข้นของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและน้ำวุ้นลูกตา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=0.188, p=0.851) จากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้สามารถใช้ค่าความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในน้ำวุ้นลูกตาแทนค่าความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดได้ หากตัวอย่างเลือดเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถทำการทดสอบได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Boondamnern, T. (2014) Evaluation of Mitragynine Detection (Methods) and Stability in Vitreous Fluid. Master of Science Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
Honey, D., Caylor, C., Luthi, R., and Kerrigan, S. (2005) Comparative Alcohol Concentrations in Blood and Vitreous Fluid with Illustrative Case Studies. Journal of Analytical Toxicology, 29(5), 365-369.
Jumlongkul, A. (2016). Ethyl Alcohol in Forensic Aspects. Chulalongkorn Medical Journal, 60(3), 283-296.
Leesan W. (2001). A Comparative Study of Ethyl Alcohol Concentrations in Postmostmortem Blood and Vitreous Humor. Master of Science Thesis, Mahidol University, Nakhon Pathom. (In Thai).
Lekcharoenkul, W. and Seburam, W. (2011) Effect of Alcohol in Mouthwash and Mouth Spray on The Use of Breath Alcohol Analyzer; Lion Model. Master of Science Thesis, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai).
Manzo Avalos, S., and Saavedra Molina, A. (2010). Cellular and Mitochondrial Effects of Alcohol Consumption. International Journal of Environmental Research and Public Health, 7(12), 4281–4304.
Ratanavalachai, T. (2014). Biochemical Alcohol Intoxication. Thammasat Medical Journal, 14(3), 405-430.
Sathirareuangchai, S. (2013). Vitreous Humor Analysis in Forensic Medicine. Journal of Forensic Physician Association of Thailand, 7(1), 35-41.
Sripetch, P. and Pradutkanchana, S. (2008). Blood Alcohol Level in Patients with Road Traffic Injury at Songklanagarind Hospital. Songklanagarind Medical Journal, 26(2), 136-140.
The Liquor Distillery Organization, (2017). What is Alcohol. Retrieve. January 2, 2019. from https://www.liquor.or.th/aic/detail.