การบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2) ศึกษารูปแบบ และมาตรการการปกปิดหรือลบทะเบียนประวัติอาชญากรของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย และ 3) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรของผู้กระทำความผิด โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร ทำการค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี ระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติอื่น ๆ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จากนั้นนำข้อมูลมาสังเคราะห์ให้ได้รูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรของผู้กระทำความผิดในประเทศไทย
ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรฐานข้อมูลการกระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการทบทวน แก้ไข ปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับของการบริหารจัดการฐานข้อมูลการกระทำความผิด นอกจากนี้ ควรมีกฎหมายที่มีลักษณะเฉพาะกับงานทะเบียนประวัติอาชญากร และควรมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ประสานงาน และดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนประวัติอาชญากร เริ่มตั้งแต่จัดทำประวัติการกระทำความผิด จัดเก็บ รวบรวม รักษาข้อมูลผู้กระทำความผิดจนถึงขั้นตอนการทำลาย รวมถึงการบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูลประวัติอาชญากรด้านข้อมูลการกระทำความผิด และควรมีการคัดแยกทะเบียนประวัติอย่างเหมาะสมเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Criminal Records Division. (2017). Statistic Report of Fingerprint Examination on Criminal Suspects and Non-criminal Persons in 2017. Bangkok: CRD Press. (In Thai).
Coffey, A. R. (1975). Juvenile Corrections: Treatment and Rehabilitation. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Drucker, P. F. (1954). The Practice of Management. New York: Harper & Row.
Federal Office of Justice. (n.d.). Act on the Central Criminal Register and on the Register of Youth Offences. Retrieved September 16, 2018. from https://www.bundesjustizamt.de/EN/Topics/citizen_services/BZR/BZR_node.html.
Jaiharn, N. (2000). Criminal Law regarding Penalties and Safety Procedures. Bangkok: Winyuchon Publication House. (In Thai).
Koontz, H. D., and Cyril, O. D. (1972).Principles of Management: An Analysis of Managerial Functions. New York: MC Graw – Hill.
Mueller Gerhard, O.W. (1964). The French Code of Criminal Procedure. Great Britain: The Wembley Press Ltd.
Na Nakorn, K. (2009). Transformation of Criminal Justice System. Bangkok: Winyuchon Publication House. (In Thai).
Office of Justice Affairs. (2009). Criminal Justice System in Thailand. 2nd Edition. Bangkok: Office of Justice Affairs Press. (In Thai).
Pisitpunporn, J. (2011). Enforcing pattern, Process and Policy of Expunction of Criminal Records for Criminal Justice Process in Thailand. Master of Laws Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
Polwon, K. (2013). Development of Justice System in Thailand. Bangkok: I’m book press. (In Thai).
Royal Police Cadet Academy, Faculty of Forensic Science. (2018). Criminal Records Administration. A Handout Lecture for Criminal Records Subject, Nakhon Pathom: Royal Police Cadet Academy Press. (In Thai).
Simon, H. A. (1965). Administrative Behavior. New York: McGraw-Hill.
Sukkasikorn, T. (2013). Criminal Records and Presumption of Innocence in Non-Final Cases. Master of Laws Thesis, Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai)
Srisanit, P. (2018). Criminal Records Transformation Versus Sentencing Concept for a Guilty Individual. Nitithumprajak Surasak 60 Year, pp. 149-181. Bangkok: October Print Press. (In Thai).