กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนกับองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วยองค์กรตำรวจ อัยการ ศาล กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และกรมคุมประพฤติ ซึ่งมีหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมและสร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่สังคม ดังนั้น ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนการปฏิบัติงานแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต้องคำนึงถึงบทบาท หน้าที่ พันธกิจของหน่วยงานว่าจะมีแนวทางการปฏิบัติงานอย่างไรให้บรรลุวิสัยทัศน์ตามที่องค์กรกำหนด และเป็นการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization: HPO) พร้อมทั้งพัฒนาวิธีการป้องกัน จัดการและบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมด้วยวิธีการที่หลากหลายให้สัมฤทธิผล นั่นหมายถึง ลดอัตราการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน รวมทั้งเด็กและเยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน โดยผู้บริหารมีหน้าที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ กระตุ้นให้บุคลากรเกิดแรงบันดาลใจ และตระหนักถึงการพัฒนาความสามารถขององค์กร โดยดึงศักยภาพขององค์กร รวมทั้งความรู้ ความสามารถของบุคลากรแต่ละคนมาใช้ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกันระหว่างองค์กร จัดเป็นกลไกที่สำคัญที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (2559). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่.
3. พสุ เดชะรินทร์ และคณะ. (2549). การพัฒนาการเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
4. ภาคภูมิ ฤกขะเมธ. (2553). องค์การที่มีสมรรถนะสูงในองค์การภาครัฐ: ตามมุมมองของทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์และแนวคิดด้านวัฒนธรรม. วารสารวิทยาการจัดการ. 27(1-2): 33-45.
5. ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและบทบัญญัติ ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. วารสารวิชาการ Verdian E-Journal. 7(3) :845-862.
6. สุจิตรา ธนานันท์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
7. สุธี สุทธิสมบูรณ์ และ สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2523). หลักการบริหารเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4) . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสวัสดิการ ก.พ.
8. สุพจน์ อินหว่าง และ กัญญามน อินหว่าง. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด.
9. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2556-2561. (พิมพ์ครั้งที่ 1 ) .กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
10. อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์. (ม.ป.ป.). นวัตกรรมการบริการงานยุติธรรมของไทย:มองย้อนอดีตสู่อนาคต. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/0B-vX9TcDkK-aVV9ncTJOQTZyaVk/view.
11. Schein,E.H. (2004). Organizational Culture and Leadership. Sanfrancisco :Jossey-Bass.
12. Senge, Peter M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.
13. W.Richard Scott. (1987).Organizations: Rational ,Natural and Open System. Ed. New Jursey. Prentice-Hall, Englewood Cliffs.