การรับรู้ของสังคมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

Main Article Content

สุพัตรา อินทร์ถมยา

บทคัดย่อ

           การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใกล้ชิดกับประชาชน บ่อยครั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะการจับกุมหรือตั้งข้อหา จะถูกประชาชนและสังคมมองว่าเป็นการกระทำ ที่เกินกว่าเหตุ โดยตำรวจจะยืนยันว่าเป็นการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
           ผลการใช้แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram) มาวิเคราะห์การรับรู้ของสังคมที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจมีการใช้อำนาจและดุลพินิจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเป็นตามวิถีการปฏิบัติที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรของตำรวจ ซึ่งมีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง การรับรู้ของสังคมเกิดจากภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อองค์กรตำรวจในภาพรวม การสื่อสารให้ประชาชนและสังคมทราบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการควบคุม ดูแล ให้เป็นไปตามกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณตำรวจอย่างเคร่งครัดจากผู้บริหารขององค์กรจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การรับรู้ของสังคมที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งผลในทางบวก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553. (2554,11 มี.ค.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนที่ 15 ก. หน้า 14-17.

2. ชิษณุพงศ์ ไหวดี. (2554). ปัญหาการควบคุมการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยศาลปกครอง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

3. ธนากร คำวะรัตน์, พ.ต.ต. (2560). วัฒนธรรมองค์กรตำรวจกับการปฏิบัติหน้าที่สอบสวน สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://thamaaya.wordpress.com/2017/03/20/วัฒนธรรมตำรวจกับการปฏิบัติ.

4. พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558. (2558, 9 ก.ค.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 63 ก. หน้า 19-29.

5. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 32) พ.ศ.2559. (2559, 10 ธ.ค.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 104 ก. หน้า 30-32.

6. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามประกาศคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ฉบับที่ 88/2557. (2557, 21 ก.ค.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 134 ง. หน้า 20-22.

7. พระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560. (2560, 31 ต.ค.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 113 ก. หน้า 1-3.

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (2550, 24 ส.ค.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.

9. วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า.

10. Chan J. (1996). Changing Police Culture. The British Journal of Criminology. 36(1): 109-134.

11. Columbia University. (2018). CLD mapping. Retrieved 28 July, 2018. from https://ac4.ei.columbia.edu/files/2016/05/CLD-mapping-protocolhandout_Print.pdf

12. Niederhoffer A. & Blumberg A.S. (1976). The ambivalent force: perspectives on the police. Holt, Rinehart and Winston.

13. Workman-Stark, A.L. (2017). Inclusive policing from inside out. Ottawa: Springer International Publishing.