ความเชื่อเรื่องนรก - สวรรค์ที่มีผลต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมาอย่างยาวนาน เป็นพลังอย่างหนึ่งที่สร้างสรรค์ เป็นแรงที่ส่งเสริมให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นทางจิตใจ หรือเป็นแรงผลักดันให้กระทำบางสิ่งบางอย่างได้อย่างมีความหวัง ดังเช่นหลักความเชื่อทางศาสนาที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของมนุษย์ โดยมีหลักคำสอนเป็นเป้าหมายสูงสุด ให้มนุษย์ที่มีความเชื่อหรือศรัทธาในศาสนาเหล่านั้น ได้นำหลักคำสอนไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต แต่ในทางกลับกัน ความเชื่อก็มีผลกระทบหากเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดการหลงผิด การกระทำที่ขาดการใช้เหตุผล และการแสดงออกที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ความเชื่อ จึงกลายเป็นทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับความเชื่อนั้นมีความถูกต้องในการปฏิบัติตามหรือไม่ แต่ในปัจจุบันสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมเมืองพุทธมีอัตราการเกิดอาชญากรรมค่อนข้างสูง โดยเฉพาะคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ เช่น การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ วางเพลิง เป็นต้น ทำให้เกิดสมมติฐานว่าหากคนเราสามารถเข้าถึงหรือเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแบบหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) หรือหากมีความเชื่อเรื่อง นรก-สวรรค์ บาป - บุญ ในเบื้องลึกของจิตใจแล้วจะทำให้อัตราการเกิดอาชญากรรมจะมีแนวโน้มลดลงได้หรือไม่ ในการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความเชื่อทางด้านศาสนาในเรื่องนรก-สวรรค์ที่มีผลต่ออัตราการเกิดอาชญากรรม และเพื่อเสนอแนวทางการป้องกันการเกิดเหตุอาชญากรรม โดยต้องการศึกษามุมมองทางด้านศาสนา ซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อนรก-สวรรค์จะมีผลต่อการตัดสินใจในการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหรือไม่อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยมีประวัติกระทำความผิด และการพัฒนาเพื่อหาแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมจากทฤษฎีอาชญาวิทยา จากการศึกษาพบว่าความเชื่อทางหลักศาสนาไม่มีผลต่อผู้ต้องขัง เนื่องจากผู้ต้องขังยังเกิดความสับสนในหลักคำสอนและไม่มีความเชื่อเรื่องนรก- สวรรค์อย่างแท้จริง ทำให้ผู้ต้องขังตัดสินใจกระทำความผิดโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหลักศาสนาที่ถูกต้องสอนให้คนกระทำแต่ความดี และสามารถนำหลักศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกคน โดยแต่ละศาสนามีการพูดถึงความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ เพื่อให้เป็นหลักคำสอนและหลักความเชื่อที่ยึดเหนี่ยวให้ทุกคนได้ตัดสินใจหรือระมัดระวังในทุกการกระทำของตนเอง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขแก่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นไม่หลงผิดจนนำไปสู่การกระทำความผิดในอนาคตได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2553). กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง. กรุงเทพฯ: สุโขทัยธรรมาธิราช.
3. พรชัย ขันตี. (2553). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ: หจก.สุเนตร์ฟิล์ม.
4. พรชัย ขันตี, กฤษณพงค์ พูตระกูล, และ จอมเดช ตรีเมฆ. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.
5. ยุพาวดี ปานช่วย. (2557). การอภัยโทษ:ศึกษาหลักการพิจารณาตัวผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคลและนโยบายทางอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
6. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2560. เข้าถึงได้จาก
https://service.nso.go.th/nso/nsopublish//files/lPocket.pdf.
7. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2560). สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ จำแนกตามประเภทคดีที่รับแจ้งทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.2549-2558. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2560. เข้าถึงได้จากhttps://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries13.html.
8. อัณณพ ชูบำรุง และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2555). อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. Aker, Ronald L. (1994). Criminological Theories: Introduction and Evaluation. Los Angeles, CA: Roxbury Publishing Company.
10. Shariff, A.F., and Rhemtulla, M. (2012). Divergent Effects of Beliefs in Heaven and Hell on National Crime Rates. Retrieved November 14, 2017 from https://www.meconomics.net/content/425.