รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ทัชชกร แสงทองดี

บทคัดย่อ

                    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของบริบทชุมชนด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษาถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำเสนอรูปแบบการรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวิธีการศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการใช้แบบสอบถามในการวัดความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญดังกล่าวคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แนวทางการรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สรุปได้ว่ามี 6 แนวทางด้วยกัน คือ 1) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้านอุบัติเหตุ 2) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้านการหลอกลวง/ต้มตุ๋น 3) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้านภัยธรรมชาติ 4) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้านอาชญากรรม 5) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้านสุขอนามัย/โรคระบาด 6) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้านการจลาจล/การก่อการร้าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

2. กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2541). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

3. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). วิถีไทย การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิถีทรรศน์.

4. ไชยวัฒน์ อัศว์ไชยตระกูล. (2556). การรับรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำและการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

5. ทัชชกร ภูวดิษยคุณ. (2555). ตำรวจกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม. นครปฐม: นิตินัย.

6. ธันย์ชนก สุขเกษม. (2558). รูปแบบการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

7. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2558). โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานและกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

8. Baker, M., and Page, S. J. (2002). Visitor safety in urban tourism environments: the case of Auckland, New Zealand. Cities The International Journal of Urban Policy and Planning, 19(4), 273-282.

9. Dickson T., Hurrel M. (2007). International Visitor Safety: Sustainable Tourism Pty Ltd.

10. Office of the spokesperson. (2012). National Travel and Tourism Strategy. U.S. Department of State. Retrieved June 24, 2017. from https://www.state.gov/r/ pa/prs/ps/2012/05/189651.htm.

11. Organization for Economic Co-operation and Development. (2003). National Tourism Policy Review of Australia. Paris: OECD.