ยุทธศาสตร์การป้องกันเด็กและเยาวชนกระทำผิด ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยับยั้งการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน สร้างยุทธศาสตร์ และประเมินยุทธศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA: Confirmatory Factor Analysis) พบว่า องค์ประกอบปัจจัยการยับยั้งการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน โดยครอบครัว โดยสถานศึกษา โดยชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัย โดยนโยบายหน่วยงานภาครัฐ และองค์ประกอบการยับยั้งการกระทำผิดโดยตัวเด็กและเยาวชน มีความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) มีค่าน้ำหนักปัจจัย (Factor Loading) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นำมาวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (Multilevel Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม IBM SPSS AMOS 21 (Analysis of Moment Structures) พบว่า สมการโครงสร้างตามสมมติฐานสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค - สแควร์ (Chi – square) เท่ากับ 212.129 ค่า c2/df เท่ากับ .960 องศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 221, P-value เท่ากับ .654 ค่า RMSEA เท่ากับ .000 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .964 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสถานศึกษา มีอิทธิพลทางตรงต่อการยับยั้งพฤติกรรมการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ปัจจัยด้านสถานศึกษา ปัจจัยชุมชนท้องถิ่น มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการยับยั้งการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน โดยผ่านตัวแปรด้านครอบครัว ปัจจัยด้านนโยบายหน่วยงานภาครัฐ มีอิทธิพลทางอ้อมในการยับยั้งการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยผ่านตัวแปรสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นำผลการวิจัยมายกร่างยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ฝึกเด็กและเยาวชนให้สามารถระงับ ยับยั้ง ลด ละ เลิกการกระทำผิดได้ด้วยตนเองฝึกการปฏิบัติจริงและประเมินผลด้วยตัวชี้วัด จนเกิดเป็นจิตสำนึกที่ดีสามารถยับยั้งการกระทำผิดได้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ฝึกปฏิบัติและประเมินผลเพื่อพัฒนาฟื้นฟู ระบบครอบครัว สถานศึกษา ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัย ให้กลับมามีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นต้นแบบ (Role Model) เพื่อสามารถเป็นผู้อบรมแนะนำเยาวชน (Instructor Coach Training Youth) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ 8 คน ประเมินยุทธศาสตร์ว่าสามารถดำเนินการได้ มีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับสูง โดยต้องฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นจิตสำนึกที่ดี โดยให้ยุทธศาสตร์ที่ 1 ต้องกระทำโดยเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤติเด็กและเยาวชนกระทำผิด ยุทธศาสตร์ที่ 2 ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางเดียวกัน และสมควรผลักดันให้ดำเนินการในระดับนโยบายประเทศต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. ไชยันต์ สกุลศรีประเศริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลีนิก. 44(1); 1-16.
3. พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 6(2); 136-145.
4. ไทยรัฐออนไลน์. (2557). ย้อนรอยสุสานทารก 2,002 ศพ วัดไผ่เงิน ดวงวิญญาณที่ไม่มีโอกาส ร้องขอชีวิต. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/463755
5. พุทธทาสภิกขุ. (2544). ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี. จังหวัดสุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ สวนโมกขพลาราม.
6. วชิรเมธี ว. (2552). Love Analysis มหัศจรรย์แห่งรัก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เทน้ำเทท่า
7. E H Sutherland, D R Cressey and D F Luckenbill. (1992). Principle of Criminology. USA.: Rowman&Littlefield.
8. Hirschi T. and Gottfredson M. (1990). A general Theory of crime. USA: Stamford University.
9. Joseph H.Rankin and L. Edward Wells. (2016). Social Control and Self Control Theorys of Crime and Deviance. New York: Routledge.
10. Maslow A. and B W Frick. (1989). Humanistic Psychology Conversations. Indiana USA.: Wyndham Hall Press.
11. Sigmund Freud. (1964). Group Psychology and Analysis of The Ego Sigmund Freud. USA.: Bantam Books.
12. Talcot Parsons Robert F. Bales. (2014). Family: Socialization and Interaction Process. Grate Britain: Routledge is an imprint of the Taylor & Francis Group.
13. World report on violence and health. (2002). Violence and Injury Prevention. Geneva: world Healt Organization.