แนวทางการสืบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

Main Article Content

เรวดี รักสกุล

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสืบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของแนวทางการสืบสวน การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางด้านมลพิษ 3 ประเภท ได้แก่ มลพิษทางน้ำ  มลพิษทางอากาศ และมลพิษจากกากอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์คดีมลพิษเป็นประเภทละ 4 คดี รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 คดี โดยสืบค้นจากคำพิพากษาที่มีการตัดสินในชั้นศาลแล้วนำมาวิเคราะห์แนวทางการสืบสวน การรวบรวมพยานหลักฐานและแยกแยะประเด็นที่เกี่ยวข้อง
                     ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์คดีด้านมลพิษทั้ง 3 ประเภท จำนวน 12 คดี มีการนำวิธีการสืบสวนทางด้านนิติวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อระบุถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษและสามารถรู้ตัวผู้กระทำความผิดได้ โดยเฉพาะหลักการสืบสวนหลังเกิดเหตุมีการระบุถึงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน แต่ยังไม่ชัดเจนและครอบคลุมในประเด็นการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการสืบสวนคดีมลพิษแต่ละประเภทจะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และแหล่งกำเนิดมลพิษ สำหรับขั้นตอนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานคดีมลพิษทั้ง 3 ประเภท มีประเด็น ที่แตกต่างกัน ได้แก่ อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง ภาชนะบรรจุตัวอย่าง การรักษาสภาพตัวอย่าง ระยะเวลาที่เก็บรักษาตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์ตัวอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดมลพิษเป็นหลักสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

1. กรมควบคุมมลพิษ. (2558). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย 2558. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.greenpeace.or.th/toxics/Thailand-Pollution-2558.pdf.

2. นิรัติศัย พลอาจ, จุมพล ขุนอ่อน และศักดิ์สิทธิ์ บุนนท์. (2554). ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 :ศึกษากรณีการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษโดยเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ. หลักสูตร
นิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

3. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม. (2555).คำพิพากษาคดีสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://enlawfoundation.org/newweb/?page_id=860.

4. ศาลฎีกา. (2560).สถิติแผนกคดีสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://www.supremecourt.or.th/webportal/maincode/index.php?base=26.

5. ศาลฎีกา. (2559).ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12760/2555. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2559. เข้าถึงได้จากhttps://deka.supremecourt.or.th/search.

6. ศรวณีย์ อินทรสอน. (2543). บทบาทของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. สัมฤทธิ์ พรมเคน. (2553). การให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษมีอำนาจสอบสวนในความผิดอาญาเกี่ยวกับมลพิษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. สำนักงานศาลยุติธรรม. (2559). รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2559.สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://www.oppb.coj.go.th/doc/data/oppb/oppb_1493262382.pdf.

9. Cristina Barazzetti Barbieria, Albano Schwarzboldb and Maria Teresa Raya Rodriguezb. (2007). “Environmental Crime Investigation in Arroio do Meio, Rio Grande do Sul, Brazil: Tannery and Shoe Factory Waste Landfill Case Study.” Retrieved February 17, 2016. from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/15275920701728938.

10. E.H. Owens, E. Taylor, and H.A. Parker-Hall. (2007).Oil spill site investigation in environmental forensic investigations. Retrieved December 18, 2017. from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780123695239500069.

11. Frances D. Hostettler , Thomas D. Lorenson and Barbara A. Bekins. (2013). Petroleum Fingerprinting with Organic Markers. Retrieved December, 18, 2017. from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/15275922.2013.843611.

12. George K. Varghesea, Babu J. Alappatb, and Muhammed Siddik Abdul Samadc. (2015). MT3DMS and genetic algorithm in environmental forensic investigations. Retrieved December 18, 2017. from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S187802961500609X.