หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เก็บข้อมูลและการวิจัยในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ฉัตรชัย มังกรแสงแก้ว

บทคัดย่อ

                         การวิจัยเชิงคุณภาพในทางวิทยาศาสตร์เป็นความจริงที่ขาดหายไปในการแสวงหาความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้ในทางนิติวิทยาศาสตร์และกระบวนการยุติธรรม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เก็บข้อมูลหรือทำวิจัยสำหรับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือประกอบสร้างงานวิจัยเชิงคุณภาพในทางนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยกลไกการบริหารอำนาจผ่านวิธีการระดับผลรวมและวิธีการระดับบุคคล จากการศึกษาพบว่าความแตกต่างทางความคิดระหว่างประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากงานวิจัยพัฒนาระบบความปลอดภัยทางถนนกับความเสี่ยงขององค์กรที่มีต่อการละเมิดสิทธิญาติผู้เสียชีวิตและการเปิดเผยข้อมูลทางคดี เป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การกำหนดระเบียบสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการอนุญาตให้เก็บข้อมูลหรือทำวิจัย พ.ศ.2561 โดยอาศัยวิธีการระดับผลรวมเพื่อให้การอนุญาตเก็บข้อมูลหรือทำวิจัยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารอำนาจผ่านวิธีการระดับบุคคล ผ่านการสร้างความเป็น “คนใน” การบริหารอำนาจทั้งสองระนาบให้มีความสมดุลนอกจากจะเป็นหัวใจสำคัญที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในการส่งเสริมการวิจัย และก่อให้เกิดการวิจัยเชิงคุณภาพทางนิติวิทยาศาสตร์ 2 ลักษณะ ได้แก่
1) การผสานค่านิยมเพื่อนำความเป็นเชิงคุณภาพเข้าไปอยู่กับงานวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์ 2) การผสานเทคนิควิธีการเก็บข้อมูลเพื่อทำให้งานวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์กลายเป็นงานในเชิงคุณภาพ จึงควรได้รับการส่งเสริมเพื่อนำการวิจัยเชิงคุณภาพในทางวิทยาศาสตร์มาเติมเต็มความรู้อย่างกว้างขวางต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. กมลรัตน์ โพธิ์ขาว. (2553). การศึกษาความหลากหลายของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอตำแหน่ง HVS1 HVS2 และ HVS3 ในประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ส่วยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

2. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (ม.ป.ป.). การขออนุญาตเข้าเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยกับเด็กเยาวชน และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จากhttps://www.djop.go.th/Djop/main.php?page=service.

3. กรมราชทัณฑ์. (ม.ป.ป.). คู่มือสำหรับประชาชน: การพิจารณาอนุญาตให้นักศึกษา บุคคล หรือหน่วยงานอื่นที่ประสงค์จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์ หรือในเรือนจำ ทัณฑสถาน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://info.go.th/Guide/GenerateCitizenGuideFront/26924.

4. จิตราภา กุณฑลบุตร. (2554). การพัฒนาและการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและข้อเสนอชุดโครงการวิจัย. แปลนพริ้นท์ติ้ง.

5. จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6. ธนัญญา ศูนย์คุ้ม. (2557). การตรวจพิสูจน์น้ำมันเบนซินบนฝ่ามือและเสื้อผ้าของผู้วางเพลิงโดยเทคนิค Gas Chromatography-Flame Ionized Detector (GC-FID). วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร

7. นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2560). การวิจัยทางสาธารณสุข:จากหลักการสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

8. ไพโรจน์ วิไลนุช. (2561). การวิเคราะห์การสนทนา: วิธีวิทยาการวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

9. ภวนันท์ อินริน. (2551). การตรวจบาดแผลทางนิติเวชของผู้ต้องหาก่อนเข้าเรือนจำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร

10. มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำนักหอสมุดกลาง. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/listprogram_th.asp?program=0715&offset=170 .

11. อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2559). รัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิดและทฤษฎีสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

12. Bryman, A. (1988). Doing Research in Organizations. London: Routledge.

13. Gorman, G.E., & Clayon, P. (2005). Qualitative Research for the Information Professional: a Practical Handbook. London: Facet.

14. Grant, T., Clark, U., Reershemius, G., Pollard, D., Hayes, S., & Plappert, G. (2017). Quantitative Research Methods for Linguists. London: Routledge.

15. Jensen, E.A., & Laurie, C. (2016). Doing Real Research: a practical guide to social research. London: SAGE.

16. Letherby, G., Scott, J., & Williams, M. (2013). Objectivity and Subjectivity in Social Research. London: SAGE.

17. Levitt, S.D., & List, J.A. (2006). What do Laboratory Experiments Tell us about the Real World. University of Chicago Working Paper. Chicago, IL. University of Chicago. Retrieved March 31, 2018. from https://pricetheory.uchicago.edu/levitt/Papers/jep%20 revision%-20Levitt%20Levitt%20&%20List.pdf.

18. McNabb, D.E. (2008). Research Methods in Public Administration and Nonprofit Management: Quantitative and Qualitative Approaches. M.E. Sharpe.

19. Piantanida, M, & Garman, N.B. (2009). The Qualitative Dissertation: a guide for students and faculty. Thousand Oaks: Corwin

20. Rossman, G.B., & Rallis, S.F. (2017). An Introduction to Qualitative Research: Learning in the field. London: SAGE.

21. Robinow, P. (1984). The Foucault Reader. New York. Pantheon.

22. Silverman, D. (1993). Interpreting Qualitative Data: Methods for Analysing Talk, Text and Interaction. London: SAGE.