ปฐมบท...สาเหตุการเป็น Battered Woman Syndrome
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนผ่านของสภาวการณ์ทางสังคมตลอดช่วง 4 ยุคสมัยที่ผ่านมา ได้แก่ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรมเบา ยุคอุตสาหกรรมหนัก และยุคดิจิทัล เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกพื้นฐาน คือ พ่อ แม่ และลูก เมื่อโครงสร้างของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความกดดันภายในสถาบันครอบครัวจึงได้รับผลกระทบโดยตรง หากครอบครัวใดไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ ก็จะต้องเผชิญกับความเครียด ความรุนแรง และอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาสังคมตามมา ผู้ที่ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในครอบครัว คือ แม่ ซึ่งนอกเหนือจากการให้กำเนิดบุตรแล้ว ยังต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตรไปพร้อมกับการดูแลงานภายในบ้าน ดังนั้น หากผู้หญิงที่มีบทบาทในครอบครัวคือบทบาทของความเป็นแม่ได้รับความรุนแรงจากการกระทำของสามีแล้ว ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดความปกติภายในจิตใจ อันจะส่งผลต่อการดูแลบุตรที่ขาดลักษณะอันพึงประสงค์ ทำให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนตามมาและอาจเติบโตไปกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีคุณภาพ
บทความนี้ได้นำเสนอในแง่มุมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ทำให้ผู้หญิงเกิดความผิดปกติทางสภาพจิตใจจากการถูกกระทำรุนแรงสะสมเป็นเวลานาน (Battered Woman Syndrome) โดยเฉพาะการถูกกระทำจากสามี ซึ่งทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ต้องกลายเป็นอาชญากรผู้ลงมือฆ่าหรือวางแผนจ้างวานให้ฆ่าสามีตนเอง เมื่อผู้หญิงเหล่านี้ถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลานานหลายปี ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือลูกที่ต้องสูญเสียทั้งพ่อและแม่ ส่งผลให้ขาดการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจนอาจเกิดปัญหาต่อสังคมในระยะต่อมา
ในประเทศไทยนั้นการฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตายจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาจะยกเว้นกรณีที่ผู้หญิงฆ่าสามีตัวเองเพราะถูกสามีทุบตีทำร้ายมาเป็นระยะเวลานาน จนเกิดโรคความผิดปกติทางจิตจากการถูกกระทำรุนแรงเป็นเวลานานสะสม (Battered Woman Syndrome : BWS) ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีความพยายามในการผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาโทษในข้อหาฆ่าสามีของผู้หญิงที่มีอาการทางจิตแบบ BWS เพื่ออำนวยความยุติธรรมที่เหมาะสมทั้งแก่ผู้กระทำผิดและฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
ครอบครัว.
_______ (2552). รายงานสถานการณ์ สตรี ป 2552. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2558). รายงานประจำปี 2558. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
มูลนิธิเพื่อนหญิง. (2556).ออนไลน์ http://womenthai.org
Albert Cohen.(1985). Dissonant Voices. The Johns Hopkins University Press : London.
Walker, Lenore E., Rachel I. Duros, and Allison Tome. (2015).“The Battered Woman Syndrome.” Last modified n.d., Accessed November 10, 2015. http://www.cavis.es/sitio/index2.php?option=com_docman&task=doc_view&gid=147&Itemid=4610