แผนประทุษกรรมกับลายเซ็นอาชญากรรมของคนร้าย : ความเหมือนที่แตกต่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของมนุษย์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย โดยเฉพาะพฤติกรรมที่คนร้ายกระทำในสถานที่เกิดเหตุอย่างเด่นชัด ได้แก่ แผนประทุษกรรม การสวมบทบาทหรือลายเซ็นอาชญากรรม และการจัดฉาก บทความวิชาการนี้จึงได้นำเสนอข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงความหมาย ประวัติความเป็นมา ประเภท ตลอดจนประโยชน์และข้อจำกัด รวมทั้งเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างกันของแผนประทุษกรรมกับลายเซ็นอาชญากรรมของคนร้าย เพื่อประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติในการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการสืบสวนสอบสวนคดีต่างๆ
ผลจากศึกษา พบว่า แผนประทุษกรรม เป็นสิ่งที่คนร้ายได้กระทำไปเพื่อให้การประกอบอาชญากรรมนั้นสำเร็จ จัดเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ที่คนร้ายสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ตามทักษะความชำนาญตลอดจนประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความมั่นใจจากการที่ก่ออาชญากรรมสำเร็จมาแล้ว ส่วนลายเซ็นอาชญากรรมเป็นสิ่งที่คนร้ายไม่ได้ต้องกระทำลงไปเพื่อให้ก่ออาชญากรรมนั้นสำเร็จ แต่เป็นสิ่งที่กระทำไปเพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกหรือความต้องการด้านจิตใจของคนร้าย และเมื่อปรากฏขึ้นแล้วจะยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายๆ
ในการตัดสินว่าสิ่งใดเป็นแผนประทุษกรรมหรือสิ่งใดเป็นลายเซ็นอาชญากรรมของคนร้ายให้ดูจากกระบวนการในการประเมินวิเคราะห์สถานที่เกิดเหตุเป็นหลักว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่กระทำไปเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการก่ออาชญากรรม การป้องกันไม่ให้มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าตนเองเป็นคนร้าย และการทำให้ประสบผลสำเร็จในการหลบหนี หรือ กระทำไปเพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกหรือความต้องการด้านจิตใจของคนร้าย เพราะฉะนั้นการพยายามทำความเข้าใจในแผนประทุษกรรมร่วมกันกับลายเซ็นอาชญากรรมจะทำให้สามารถเชื่อมโยงในการสืบสวนคดีต่างๆได้เป็นอย่างดี มากกว่าจะพิจารณาเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลัก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ. (2558). การจำลองภาพอาชญากรรมเพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ในแนวทางด้านนิติวิทยาศาสตร์.วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, 1(1), 7-16
3. อินเนส ไบรอัน. (2547). ผ่าสมองคนต้องฆ่า ภาคแรก. แปลมาจาก Profiling of a Criminal Mind. กรุงเทพฯ:เนชั่นบุ๊คส์.
4. Dan Robb. (2015). Why do certain thieves/criminals intentionally leave some sort of mark or signature behind at the crime scene?. Retrieved August 10,2017, https://www.quora.com/Why-do-certain-thieves-criminals-intentionally-leave-some-sortof-mark-or-signature-behind-at-the-crime-scene/answer/Dan-Robb-2
5. David Webb. (2012). Profiling Methodology. Retrieved August 10,2017,from https://www.all-about-forensic-psychology.com/psychological-profiling.htmlDouglas&Munn. (1992).Violent Crime Scene Analysis: Modus Operandi, Signature, and Staging.Retrieved August 10,2017, from https://www.ncjrs.gov/pdffiles1/Digitization/134597NCJRS.pdf
6. Encyclopedia of death and dying. (2017). Serial Killers. Retrieved August 10,2017, from https://www.deathreference.com/Py-Se/Serial-Killers.htmlJennifer Chase. (2011). Offender’s Signature vs. Modus Operandi. Retrieved August 10,2017,from https://authorjenniferchase.com/2011/06/22/offender%E2%80%99s-signature-vsmodus-operandi
7. Newton Michael. (2000). The Encyclopedia of Serial Killers. New York: Checkmark Books.
8. Rebecca Taylor LaBrode. (2007). Etiology of the Psychopathic Serial Killer: An Analysis of Antisocial Personality Disorder, Psychopathy, and Serial Killer Personality and Crime Scene Characteristics. Retrieved August 10, 2017, from https://btci.stanford.clockss.org/cgi/reprint/7/2/151.pdf
9. Ronal M.Holmes and Stephen T.Holmes.(2009). Profiling violent crimes: An investigative tool.4th ed.Los Angeles:SAGE Publicatioins,Inc.
10. Scott A. Bonn. (2015). Serial Killers: Modus Operandi, Signature, Staging & Posing Understanding and classifying serial killer crime scenes. Retrieved August 10, 2017, from https://www.psychologytoday.com/blog/wicked-deeds/201506/serial-killersmodus-operandi-signature-staging-posing
11. Vernon J.Geberth. (1995). The “Signature” Aspect in Criminal Investigation. Retrieved August 10,2017, from https://www.practicalhomicide.com/articles/signature.htm