ความมั่นคงด้านแรงงานของไทยกับอนาคตด้านการศึกษาของผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงความเคลื่อนไหว และผลกระทบจากการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่บุตรหลานแรงงานข้ามชาติในโรงเรียนวัดศิริมงคล โรงเรียนหลวงแพทย์โกศลอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม และโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาธรรม โดยการสอบถามนักเรียนและสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า เบื้องต้นโรงเรียนจะทำการสอบประวัติ ความเป็นมาของเด็กจากผู้ปกครอง และพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เรียนและจัดส่งเอกสารดังกล่าวไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และที่ว่าการอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนต่างชาติ โรงเรียนทั้ง 4 แห่ง ได้จัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนของไทย และสอนด้วยภาษาไทยตลอดหลักสูตร โดยภาพรวมบุตรหลานแรงงานข้ามชาติมีความพึงพอใจในระดับมาก โดย พึงพอใจสูงสุดในเรื่องที่โรงเรียนทำให้อ่านออก เขียนได้ และสามารถพูดภาษาไทย ทำให้มีเพื่อน และได้รู้จักโลกภายนอกมากขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการให้สิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกับเด็กไทยทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน ทุนการศึกษา การรักษาพยาบาล อาหารกลางวันหัวละ 20 บาทต่อวัน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบล และ 2) องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้สนับสนุนงบประมาณในการซื้อเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน และจัดจ้างครูผู้สอนให้แก่โรงเรียน นอกจากนี้ยังมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน ได้แก่ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Right Promotion Network :LPN) บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ไทยควรตระหนักถึงผลกระทบต่อความมั่นคงด้านแรงงานและผลกระทบต่อความมั่นคงในประเทศ การเชื่อมโยงข้อมูลระบบลายพิมพ์นิ้วมือของนักเรียนต่างชาติกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่น กัมพูชาที่ไม่มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากรของกัมพูชา ทำให้มีผลกระทบต่อไทยในกรณีที่คนกัมพูชาหลบหนีเข้ามาประเทศไทยและเมื่อกระทำความผิดก็ไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ ควรมีการจัดโซนนิ่งให้โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งรับหน้าที่ในการสอนนักเรียนต่างชาติโดยตรง และสามารถใช้หลักสูตรการสอนแบบนานาชาติ หรือออกแบบหลักสูตรใหม่ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนต่างชาติโดยเฉพาะ เนื่องจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนต้องรับภาระทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาติ ทำให้งบประมาณภาครัฐที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนไม่เพียงพอ การจัดการการเรียนการสอนของโรงเรียนทำได้ไม่เต็มศักยภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในอนาคต
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. พงศ์เทพ โตมาดี. (2556). การจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์,15 พฤศจิกายน 2560, สืบค้นจาก https://www.km.skn.go.th/?name=research&file=readresearch&id=27
3. วรางคณา มุทุมล. (2556). เด็กเคลื่อนย้าย มุมมองใหม่ในการทำงานคุ้มครองเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
4. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร. (2557). เด็กข้ามชาติกับโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร.กรุงเทพฯ.
5. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการศึกษาธิการ. (2552). คู่มือและแนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.