การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment – ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

Main Article Content

พัชรา สินลอยมา

บทคัดย่อ

                      ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงาน ป.ป.ท. ได้ร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 657 หน่วยงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของไทยให้สูงขึ้น โดยใช้เครื่องมือการประเมิน 3 ประเภท ที่สำนักงาน ป.ป.ช. พัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบประเมินสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน แบบประเมินสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแบบประเมินใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                       ผลการประเมิน พบว่า หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินมีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงมากร้อยละ 19.66 อยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ร้อยละ 76.98 และอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ร้อยละ 3.35 และเมื่อวิเคราะห์ตามดัชนีการประเมินทั้ง 5 ดัชนี พบว่า ดัชนีที่หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมิน ได้คะแนนสูงสุด คือ ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 89.64 รองลงมา คือ ดัชนีความพร้อมรับผิด ร้อยละ 81.27 ดัชนีความโปร่งใส ร้อยละ 73.10 ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กรร้อยละ 65.51 และดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน ร้อยละ 64.02
                       ผลการประเมินหน่วยงานภาครัฐระดับกรม พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 78.31 คะแนน เทียบเท่าเกณฑ์การประเมินในระดับสูง เมื่อทำการวิเคราะห์เป็นรายกรมจำแนกตามเกณฑ์การให้คะแนน พบว่า มีกรมที่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 35.37 และมีกรมที่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 64.63 ในระดับจังหวัด พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 76.27 คะแนน เทียบเท่าเกณฑ์การประเมินในระดับสูง เมื่อทำการวิเคราะห์เป็นรายจังหวัดจำแนกตามเกณฑ์การให้คะแนน พบว่า มีจังหวัดที่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 7.89 และอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 92.11 สำหรับระดับท้องถิ่น พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 71.64 คะแนน เทียบเท่าเกณฑ์การประเมินในระดับสูง เมื่อทำการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยงานจำแนกตามเกณฑ์การให้คะแนน พบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 7.83 อยู่ในเกณฑ์ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 85.41 และอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 6.76 จากผลการประเมิน รัฐบาลควรมีการดำเนินโครงการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานระยะยาวของหน่วยงานราชการเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดขับเคลื่อนและพัฒนาในด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในระยะยาว และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการทุจริตในสังคมไทย ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตให้มากยิ่งขึ้น เพื่อร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2557). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency
Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2558). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency
Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (ฉบับปรับปรุงเมื่อมีนาคม 2558).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. คู่มือคำอธิบายแบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Integrity & Transparency Assessment: EBIT).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2558). คู่มือคำอธิบาย (เพิ่มเติม) แบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence-Based : ITA ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2558). คู่มือ ITA การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency
Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (ส าหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลและที่ปรึกษา).

Anti-Corruption & Civil Rights Commission Republic of Korea. (2014). Integrity Assessment of Public Organization.

Anti-Corruption & Civil Rights Commission Republic of Korea. (2014). Introduction to Integrity Assessment.

Transparency International. (2014). Corruption Perception Index. Berlin, Germany