รูปแบบการจัดบริการที่มีคุณภาพของสถานีตํารวจนครบาล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน

Main Article Content

ปิยะ ต๊ะวิชัย

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดบริการที่มีคุณภาพของสถานีตํารวจนครบาล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนที่มีประสบการณ์ใช้บริการสถานีตํารวจนครบาล จํานวน 880 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามที่ความเชื่อมั่น .98 เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชน กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กลุ่มผู้บริหารระดับกลางของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และกลุ่มผู้ปฏิบัติในสถานีตํารวจนครบาล ใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลจากผลสัมภาษณ์เชิงลึก


                จากการสังเคราะห์ผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้รูปแบบ SMART Police Stationประกอบด้วย การสร้างพลังความร่วมมือจากทั้งภายในองค์กร และความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (Synergy) คุณลักษณะเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม (Morality) การพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีของสถานีตํารวจ (Administration) การพัฒนาความพร้อมทุกส่วนงาน (Readiness) การนําเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการบริการใหม่ (Technology innovation) การนํารูปแบบ SMART PoliceStation มาใช้นั้น เพื่อมุ่งมั่นที่จะตอบสนองเป้าหมายในการบริการ 3F คือ การให้บริการที่เสมอภาค(Fair) รวดเร็ว (Fast) และสร้างความสุข (Fun) ด้วยกลยุทธ์ 3C เพื่อความสําเร็จที่ยั่งยืน ได้แก่ การยึดผู้รับบริการเป็นสําคัญ (Customer Focus) การมุ่งมั่นความรู้ความสามารถ (Competency Oriented)และความเชี่ยวชาญในการสื่อสาร (Communication Expertise)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ปิยะ อุทาโย. (2539). ความพึงพอใจของประชาชนต8อการให3บริการงานตํารวจ. กรุงเทพฯ : สถาบัน
บัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร.

2. Anderson, K. (2002). CRM. Handbook. New York: McGraw-Hill.

3. Anderson, Kristin and Kerr, Carol. (2005). Customer Relationship Management. New
York : McGraw-Hill.

4. Berry, L and Parasuraman, A. (1991). Marketing Service: competing through quality.
Singapore: Free Press.

5. Drucker, Peter F. (1972). Adventure of a Bystander. New York: Harper & Row.

6. Gaines, L., Worrall, J., Southerland, M. and Angell, J. (2003), Community Policing. U.S.A.
: McGrawHill.

7. Gronroos, C., (1990). Internal Marketing . U.K. : Oxford, Butterworth–Heinmann.

8. Holden, Richard. N. (1993). Modern Police Management. 2nd ed. U.S.A. : Prentice Hall.

9. Lovelock, C. and Wirtz, J. (2007). Service Marketing : people, technology, strategy.
6th ed . U.S.A. : Prentice Hall International.

10. Nykamp, Melinda. (2001). The Customer Differential: The complete guide to
implementing Customer Relation
Management. New York : AMA.

11. Payne , A., Christopher , M., Clark, M., Peck, H., (1999). Relationship Marketing for
Competitive Advantage.
Oxford : Butterworth Heinemann.

12. Payne, Adrian and Frow , Pennie (2005). A strategic Framework for Customer Relation
Management. Journal of Marketing . 69 (October 1960)

13. Peck, Helen, Payne, Adrian and Christopher, Martin (1999). Relationship Marketing :
Strategy and Implementation. U.K. : Oxford, Butterworth – Heinmann.

14. Wallace, H. and Roberson, C. (1998). Introduction to Criminology. U.S.A. : Wadswarth.

15. Zeithaml, V. A. and Bitner, M. J. (1990) Service Marketing. New York: McGraw-Hill.