การหลีกเลี่ยงอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในสินค้าประเภทเหล็ก: มาตรการที่เหมาะสมของประเทศไทย

Main Article Content

พงษ์สิริ ตาอินทร์

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม เพื่อวิเคราะห์ความรู้ทางด้านอาชญาวิทยากับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ด้านการค้าเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าประเภทเหล็ก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เมื่อสินค้าประเภทเหล็กเป็นสินค้าที่ถูกใช้ในการทำสงครามการค้าผ่านมาตรการตั้งกำแพงภาษีทางการค้า จึงทำให้ประเทศผู้ผลิตเหล็กต้องหาทางระบายสินค้า ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศปลายทางที่สำคัญของผู้ผลิตเหล็ก ทำให้สินค้าประเภทเหล็กมีการนำเข้ามาจำหน่ายมากขึ้นในประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศเกิดความเสียหาย ดังนั้น ภาครัฐจึงมีมาตรการในการตอบโต้การทุ่มตลาดในสินค้าประเภทเหล็ก โดยการจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าเหล็กบางชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตเหล็กภายในประเทศสามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีผู้นำเข้าสินค้าประเภทเหล็กหลายรายอาศัยช่องทางในการหลีกเลี่ยงอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในสินค้าประเภทเหล็กเหล่านั้น ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศยังคงได้รับความเสียหาย และรัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งในบทความนี้ได้วิเคราะห์ถึงทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในสินค้าประเภทเหล็ก ได้แก่ ทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน ทฤษฎีทางเลือกที่เป็นเหตุเป็นผล และทฤษฎีการป้องกัน โดยผลการแก้ไขที่สำคัญคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีการปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยนำความรู้ด้านอาชญาวิทยามาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงอากรตอบโต้การทุ่มตลาด นอกเหนือจากวิธีการตามกฎหมายหรือวิธีการอื่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. กมล สุปรียสุนทร. (2551). ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาชญากรรมคอปกขาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

2. คณิน บุญสุวรรณ. (2529). อาชญากรทางเศรษฐกิจ นักบ่อนทำลายชาติที่แท้จริง. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

3. ฐานเศรษฐกิจ. (2559). เปิดเล่ห์จีนงัดสารพัดวิธีทุ่มตลาดเหล็ก. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561. เข้าถึงได้จาก http://www.thansettakij.com/content/29626

4. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2555). สังคมกับเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: พูลสวัสดิ์พับลิชชิ่ง.

5. ทัชชมัย ทองอุไร. (2560). กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ: GATT และ WTO: บททั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

6. มติชน. (2559). อึ้ง! ไทยนำเข้าเหล็กจีนคิดเป็น 1 ใน 3 ของความต้องการใช้ทั้งประเทศ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_394896

7. วีระพงษ์ บุญโญภาส. (2557). อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

8. อัจฉรียา ชูตินันท์. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

9. Sutherland, Edwin H. (1983). White Collar Crime The Uncut Version. USA: Yale University Press.