ความรู้เท่าทันสื่อไอซีทีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล บ้านมหาชัย (อนุกูลราษฎร์) จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องความรู้เท่าทันสื่อไอซีทีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุกูลราษฎร์) จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อไอซีที ดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ระดับความคิดเห็น 5 ระดับ (Rating scale) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 120 คน จากผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ครอบครัวมีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จำนวนสมาชิกในครอบครัว 5-6 คน มีเกรดเฉลี่ย 2.00-2.50ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือมากที่สุด โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 3-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการรู้เท่าทันสื่อไอซีทีในระดับปานกลาง โดยมีข้อความที่กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเป็นอันดับหนึ่ง คือนักเรียนใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อเล่นเกมออนไลน์ ด้วยค่าเฉลี่ย 4.86 และข้อความที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและความปลอดภัย ในการใช้อินเทอร์เน็ต ด้วยค่าเฉลี่ย 1.20 โดยเพศชายมีการใช้สื่อไอซีที เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ลามกอนาจาร การพนัน ความรุนแรง ลัทธิต้องห้ามต่าง ๆ ถึงร้อยละ 56.67 ส่วนเพศหญิงร้อยละ 65.83 จะใช้สื่อไอซีทีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพื่อนแก้เหงา โดยการเข้าถึงสื่อที่ใช้พบปะพูดคุยกัน เช่น Facebook, Line เป็นต้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
default/files/scribd/bthwiekhraaahsthaankaaredktidekm_2556.pdf
2. กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. จินดารัตน์ บวรบริหาร (2548). การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต การประเมินความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการสื่อสารแบบบูรณาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
4. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และคณะ. (2546). โครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558. เข้าถึงได้จาก pctc.damus.in.th/.../104_20120829202740_21_ฤา อนาคตเด็กไทยจะแคระแกรน.pdf
5. ชาญวิทย์ พรนภดล. (2556). บทวิเคราะห์งานวิจัยสถานการณ์เด็กติดเกม. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.healthygamer.net/sites/default/files/scribd/
bthwiekhraaahsthaankaaredktidekm_2556.pdf
6. บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
7. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7)กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8. มนต์ ขอเจริญ และณัทธสิฐษิ์ สิริปัญญาธนกิจังหวัด. (2559). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต. 10(2), 205 – 230.
9. ศรีดา ตันทะอธิพานิช. (2555). รู้ทันสื่อ ICT. มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ออฟเซ็ต จำกัด.
10. สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). อัตราการฟังวิทยุ-ชมโทรทัศน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries08.html
12. อรรถพร กรวิไล. (2545). รายงานวิจัยเรื่อง ความรู้เท่าทันสื่อในการเปิดรายงานผลการสำรวจประชามติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซ็นต์จอห์น.
13. อุษา บิ้กกิ้นส์. (2559). ย้อนหลัง 10 ปี วิจัยสื่อกับเด็ก. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558. เข้าถึงได้จาก www.eng.kidsradioclub.or.th/Images/News/2013/nw-2013-09-13-2-1.pdf
14. Art, S. and Ellen M. (1997). Dictionary of Media Literacy. Westport, CT: Greenwood Press.
15. Atkin, C. (1973). Instrumental utilities and information seeking in new models for Mass Communication research, ed. Peter Clarke, Sage Annual Reviews of Communication Research, Vo1.2. Beverly Hills: Sage, 205- 242.
16. Best, J. W. (1981). Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.
17. Klapper, Joseph T. (1960). The effects of mass communication. New York : Free Press.
18. Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes, Arch Psychological. 25(140), 1 – 55.
19. McCombs, M. E. and Becker, L. E. (1979). Using mass communication theory, Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.