การออกแบบและพัฒนาฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research - PAR) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนารูปแบบฉลากสินค้าชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ รวมถึงบูรณาการกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการวิจัย ผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัยได้แก่ ผู้ประกอบการ ลูกค้า นักออกแบบ นักวิชาการด้านการออกแบบ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือวิสาหกิจชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ In-Dependent T-Test
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์มียอดขายลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบที่มาจากท้องถิ่น ราคาวัตถุดิบถูก จุดด้อย คือ อายุการเก็บรักษาสั้นและการหาช่องทางการสื่อสารการตลาด โอกาส คือ นโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของรัฐบาล และอุปสรรค คือ ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนปัญหา คือ ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงงบประมาณในการสนับสนุนจากภาครัฐ ผลประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมต่อฉลากผลิตภัณฑ์เดิมพบว่ามีความพึงพอใจระดับน้อยทุกผลิตภัณฑ์ ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ ข้อมูลสำคัญสำหรับการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมต้องสะท้อนมาจากปัญหาและความต้องการภายในของผู้มีส่วนร่วมซึ่งสะท้อนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการวิจัย
- ผลการออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างฉลากสินค้าเดิมกับฉลากสินค้าใหม่ พบว่าผู้มีส่วนร่วมมีความพึงพอใจต่อฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นในระดับมากทุกผลิตภัณฑ์ (t>2.447) ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ ผลงานออกแบบฉลากจะสัมฤทธิ์ผลและเป็นที่พอใจของผู้มีส่วนร่วมได้ ต้องมาจากความเท่าเทียมและความสมดุลทางความคิดอย่างมีประชาธิปไตยจากผู้มีส่วนร่วม งานออกแบบจะต้องเชื่อมโยงกับรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งต้องสะท้อนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยืน อันประกอบไปด้วยการสื่อถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น
ภูมิปัญญา การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ่านภาพประกอบ สี ตัวอักษร และลวดลายกราฟิก - การประเมินผลสัมฤทธิ์การบูรณาการกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอนของนักศึกษาก่อนและหลังการมีส่วนร่วม พบว่านักศึกษามีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นทุกด้าน นักศึกษาได้เรียนรู้การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ มีความรู้ด้านการวิเคราะห์ แปลผล และสรุปข้อมูลวิจัยมากที่สุด ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ การบูรณาการกระบวนการวิจัยกับการเรียนการสอนยังส่งผลให้นักศึกษาได้ฝึกการใช้ปฏิภาณไหวพริบเพื่อแก้ปัญหา โดยเฉพาะขั้นตอนการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) เนื่องจากทุกความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมมีความสำคัญต่อการออกแบบฉลากสินค้าเท่ากันทุกคนจึงต้องหาจุดกึ่งกลางหรือความสมดุลของความต้องการ เพื่อให้ได้ผลงานที่ตรงใจผู้มีส่วนร่วมมากที่สุด ทั้งนี้ การออกแบบอย่างมีส่วนร่วมยังสามารถลดทิฐิหรือการคิดหมกมุ่นแต่ความต้องการของตนเอง ความอยากเอาชนะ และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ผลการวิจัยสามารถพัฒนาเป็นแบบจำลองการเรียนรู้ที่เกิดจากการบูรณาการงานวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
Article Details
References
และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรไทย.” วิทยานิพนธ์,
ดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557.
2. นรินทร์ สังข์รักษา และคณะฯ. “การพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
‘เมืองโอ่ง ดินสุกและตุ๊กตา’ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการ
แข่งขันการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเชื่อมโยงสินค้า OTOP กับ
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดราชบุรี.” วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย 35, 3 (กันยายน-ธันวาคม
2558): 45-47
3. ปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล. การสื่อสาร: กลไกสำคัญในการก้าวสู่ประชา
สังคมในศตวรรษที่ 21. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543.
4. ปาพจน์ หนุนภักดี. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์.
นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์, 2553.
5. การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง.” รายงานวิจัย, ทุนสนับสนุนงบประมาณรายได้ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม, 2557.
6. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, 2554.
7. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและศูนย์
สร้างสรรค์การออกแบบ. รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ, 2552.
8. อัจฉรา ศรีพันธ์. “กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสินค้าและ
บริการเชิงวัฒนธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนใน
จังหวัดเพชรบูรณ์.” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับ
ชาติในวันคล้ายวันสถาปนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
หน้า 2-16. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.