ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินตกแต่งบ้านประเภทให้แสงสว่าง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในการออกแบบด้วยเทคนิค Display ในการเปลี่ยนรูปทรงและการตกแต่งผิวสีเครื่องเขินในรูปแบบ 3 แบบ เพื่อใช้เป็นของตกแต่งบ้าน ได้แก่ แบบที่ 1 การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แบบที่ 2 การปรับวิธีการขึ้นรูป และแบบที่ 3 การปรับวิธีการทำสี ประเมินผลผลิตภัณฑ์เครื่องเขินโดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มข้างเคียง ทั้งด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ประโยชน์ในการใช้งาน ความคงทนของวัสดุ ความสะดวกในการรักษา ราคา และความพึงพอใจโดยรวมของผู้บริโภค จากกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่าสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้แนวคิด Display ได้ 6 รูปแบบ เมื่อสอบถามความพึงพอใจผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ รูปแบบที่ผลิต 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 รูปแบบที่ 4 ร้อยละ 30.1 อันดับที่ 2 รูปแบบที่ 1 ร้อยละ 21.2 และ อันดับที่ 3 รูปแบบที่ 5 ร้อยละ 23.1 ตามลำดับ ผู้วิจัยได้นำรูปแบบที่ 3 รูปแบบที่ 4 และรูปแบบที่ 5 มาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ในการผลิต โดยรูปแบบที่ 3 มีจุดเด่นเรื่ององค์ประกอบของเส้นจากโครงสร้างที่สามารถติดตั้งให้เกิดรูปแบบอื่นๆ หรือปล่อยให้เกิดรูปทรงจากแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติ รูปแบบที่ 4 มีจุดเด่นด้านรูปแบบที่มีความเรียบง่าย สามารถนำไปตกแต่งสถานที่ได้เกือบทุกรูปแบบของการตกแต่ง รูปแบบที่ 5 มีจุดเด่นในรูปแบบที่มีความสมมาตรและจังหวะขององค์ประกอบรูปทรงที่เกิดจากริ้วและการบิดตัว ส่งผลต่อการให้แสงสว่างโดยรวมได้ดี สำหรับข้อเสนอแนะในการผลิต ทุกรูปแบบมีจุดที่ควรปรับปรุง คือ การรับน้ำหนัก การติดตั้ง และความเหมาะสมในชนิดวัสดุที่นำมาใช้ ควรคำนึงถึงสัดส่วนและความปลอดภัยในการใช้งาน
Article Details
References
2. นพคุณ สุขสถาน. การออกแบบเครื่องเรือน (Furniture design). กรุงเทพฯ:
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2530.
3. นภดล สังวาลเพ็ชร. “โครงการออกแบบเครื่องเรือนชุดรับแขกภายใต้แนวคิด
จิตรกรรมฝาผนังไทย.” วิทยานิพนธ์, ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ออกแบบผลิตภัณฑ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.
4. ปิยฉัตร พรหมบุรี. “โคมไฟตั้งโต๊ะ เครื่องจักรสาน.” วิทยานิพนธ์, ศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2537.
5. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:
นานมีบุคส์, 2546.
6. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม.
“ทฤษฎี 3 มิติ.” การออกแบบรูปทรง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์
2560 https://webcache.googleusercontent.com/search?
q=cache:gIpsT5kIIUJ:www.faed.mju.ac.th/download/
get_fle.asp%3Fref%3D141+&cd=7&hl=th&ct=clnk&gl=th.
7. วรรณี สหสมโชค. การออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2549.
8. วิถี พานิชพันธ์. เครื่องเขินในเอเชียอาคเนย์ (Lacquer ware in Southeast
Asia). เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2545.
9. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวง
ศึกษาธิการ. เครื่องเขิน. กรุงเทพฯ: กิจเสรีการพิมพ์, 2538.
10. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. เครื่องเขิน.
กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2530.
11. สาคร คันธโชติ. การออกแบบเครื่องเรือน (Furniture design). กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์, 2528.
12. สิรินทร์ญา นิ่มนวล. “โครงการออกแบบโคมไฟสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
เพื่อการขนส่ง.” วิทยานิพนธ์, ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
13. อาชัญ นักสอน. ศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ๊ล
กรุ๊ป, 2558.