ภาพสะท้อนสังคมบริโภคในปัจจุบัน
Main Article Content
Abstract
ผลงานทัศนศิลป์ เรื่อง “ภาพสะท้อนสังคมบริโภคในปัจจุบัน” มีที่มาจากการบริโภคเนื้อสัตว์ของมนุษย์ที่มีปริมาณมากขึ้นตามการเพิ่มของจำนวนประชากรโดยไม่คำนึงถึงผลร้ายต่อผู้บริโภค การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแสดงออกผ่านรูปทรงของเนื้อสัตว์ที่เหมือนจริงมาจัดวางองค์ประกอบให้ทับซ้อนกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการทับถมกันของเนื้อสัตว์จำนวนมาก ใช้เทคนิคสีอะคริลิกและสีน้ำมันบนผ้าใบ แสดงถึงความรู้สึกน่าขยะแขยง หดหู่ ที่เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวลในการบริโภคเนื้อสัตว์
จากกระบวนการผลิตที่นำเทคโนโลยีและสารเคมีมาใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ที่นับวันจะมีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกาย ผลงานชุดนี้มีวิธีดำเนินการสร้างสรรค์ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเนื้อสัตว์ โดยได้รับอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรมของวีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ Tjalf Sparnaay และ Christoph Eberle นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง รูปทรงสัญลักษณ์ และเทคนิค กลวิธีสร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุ วัสดุ กลวิธี และหลักการทางทัศนศิลป์ เพื่อตอบสนองแนวความคิดให้เป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน จำนวน 6 ผลงาน
ผลลัพธ์จากการสร้างสรรค์พบว่าการนำเนื้อสัตว์มาจัดวางให้ทับซ้อนกันเพื่อแสดงให้เห็นถึงการทับถมกันของรูปทรงจำนวนมาก ได้แสดงผลสัมฤทธิ์ตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ น่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักระวังในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค
Article Details
References
2. จักรกริศน์ เนื่องจำนง. สุขศาสตร์ปศุสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
3. นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน. บทความศิลปะ นิทรรศการศิลปะกรรมศาสตร มหาบัณฑิตทัศนศิลป์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บุรีรัมย์: ไอพริ้นท์ แอนด์ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์), 2556.
4. มินเดลล์ เอิร์ล. วิตามินไบเบิล. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2558.
5. มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9. “วีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ.” สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2562. https://www.rama9art.org/artisan/artdb/artists/home.php?p=profiles&name=Verapong%20Sritrakulkitjakarn.
6. สังสิทธิ์ ศรีสุคนธ์. “อันตรายจากการบริโภคเนื้อสัตว์ในปัจจุบัน.” Thai-chlorophyll. สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2559. https://thai-chlorophyll.com/อันตรายจากการบริโภคเนื้อสัตว์ในปัจจุบัน.
7. อารี สุทธิพันธุ์. ศิลปะนิยม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2535.
8. อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2550.
9. Eberle, Christoph. lamm, fleisch, hyperrealismus, eberle. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2562. https://www.christopheberle.ch/still-life?lightbox=dataItem-jal1lpge.
10. Sparnaay, Tjalf. “Food Scape 2014.” สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2562. https://www.tjalfsparnaay.nl/en/works/highlights.