การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อมกำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
Main Article Content
Abstract
ป้อมและกำแพงเมืองแบบยุโรปได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงป้อมกำแพงเมืองสมัยพระนารายณ์หลายเมืองด้วยกัน ซึ่งการปรับปรุงนี้สัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวทางการค้าและการเมืองในปลายรัชสมัยพระนารายณ์ วิศวกรที่มีบทบาทในช่วงเวลานั้นคือ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ ชาวฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาพร้อมคณะทูตมองซิเออร์ เดอ โชมอง โดยหน้าที่หลักของเขาคือการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างป้อมกำแพงสมัยใหม่จำนวนหลายเมืองในอาณาจักรอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2228-2230 ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ ประการแรก ศึกษาแนวคิดและปัจจัยที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงตัดสินใจดำเนินการปรับปรุงและสร้างป้อมกำแพงเมือง ประการที่สอง ศึกษางานออกแบบและการก่อสร้างที่ทำโดยลามาร์ ด้วยการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีร่วมกันเท่าที่พอจะสามารถสืบค้นข้อมูลได้ ผลจากการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของการปรับปรุงป้อมกำแพงเมืองเกิดขึ้นจากประการแรกคือ ความต้องการในการพัฒนาระบบป้องกันข้าศึก ได้แก่ เชียงใหม่และพม่า และสร้างขอบเขตของอาณาจักรให้เข้มแข็ง ทำให้ต้องมีการปรับปรุงเมืองอยุธยาและเมืองลพบุรี ประการที่สองคือ ต้องการเสริมความเข้มแข็งให้กับเมืองท่าในภาคใต้ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา เพื่อเตรียมการรับมือฮอลันดา และรวมถึงโจรสลัด ประการสุดท้ายคือ การเอื้อผลประโยชน์ให้กับฝรั่งเศสเพื่อเข้าควบคุมเส้นทางการค้าด้านตะวันตกเพื่อให้แทนที่อำนาจของขุนนางท้องถิ่น ทำให้มีการปรับปรุงและสร้างป้อมเมืองบางกอกและเมืองมะริด
Trade within Politics and Monsieur de Lamare, A French Fortification Engineer in the Reign of King Narai
The European forrt and wall system was used several cities in the reign of King Narai. This renovation associated with the trade and political problem with in his reign. Monsieur de Lamare, a French fortification engineer, traveled to Ayutthaya with the diplomatic corps of Monsieur de Chaumont. Lamare’s major duty was introducing and renovating the modern fortification system to several cities of Ayutthaya Kingdom, during 1685-1688 AD. This essay therefore aims to demonstrate in two main points: firstly, the hidden reasons that the fortifications were decided to renovate and construct by King Narai. Secondly, the distinctive designation and structure of fortifications which were operated by Monsieur de Lamare. The historical documents and archaeological evidence are used to analysis as the methology of styudy. The research result has been found that there are three main reasons of building fortification: the first is reinforcing the defensive system of the Ayutthaya Kingdom from Chiang Mai and Burmese army, thus the heart cities, that were, Ayutthaya capital city and Lopburi city were renovated. The second, to prevent Gulf of Siam from monopolising trade policy of Dutch (VOC) and prirate, the reinforcement of the southern port cities, namely Nakhon Sri Thammarat, Phatthalung, and Songkha city, were restored stronger than previous bastions. The last reason is the ecomonic politics within aristrocrats of Ayutthaya and foreigner, as a result King Narai wanted another power, that was, French to control the trade route to the west. Thus, the fortifications at Bangkok and Mergui city (in present-day Myanmar) were renovated and built the new.