เรื่อง ทำนองเทศน์มหาชาติ กัณฑ์มัทที ในประเพณีตั้งธัมม์หลวง
Main Article Content
Abstract
ผลการวิจัยพบว่า การเทศน์มหาชาติ หรือเวสสันดรชาดกมีที่มาจาก พระคาถาพัน เป็นภาษาบาลีอยู่ในนิบาตชาดก อันเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฏก มหาชาติ หรือ เวสสันดรชาดก ประกอบด้วยเรื่องราวทั้งหมด 13 กัณฑ์
ผลการวิเคราะห์พบว่าทำนองเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทที ในประเพณี ตั้งธัมม์หลวง ใช้สำนวนเทศน์ฉบับไผ่แจ้เรียวแดง ระบำเทศน์แบบ พร้าวไกวใบ องค์ประกอบ การเทศน์มหาชาติ กัณฑ์มัททีแบ่งได้ 6 ส่วน ประกอบด้วย อาราธนาธรรม อื่อกั่นโลง กาบเก๊า ตั้งนโมฯ เนื้อธัมม์กัณฑ์มัทที และกาบปลาย การเทศน์ ของชาวล้านนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่การเทศน์ ทำนองแบบ ธรรมวัตร และการเทศน์ ทำนองแบบมหาชาติ พบเทคนิคการเทศน์ ดังนี้ ตั้ง เทียว เหลียว วาง ยั้ง ขึ้น หว้าย ก่าย และยั้ง เทคนิคต่างๆ นี้จะอยู่ภายใต้กรอบ ของทำนองเทศน์ 4 รูปแบบ ซึ่งได้มีการกำหนด สัญลักษณ์ เพื่อช่วยในการเทศน์ดังนี้ เหินสูง ( / ) เหินต่ำ ( , ) ละม้าย (๙ ) และลงเสียง ( o ) สัญลักษณ์เหล่านี้ จะเขียนสำหรับเนื้อธัมม์ เพื่อเป็นแนวทางในการเทศน์ เพื่อช่วยในการออกเสียง ควบคู่ไปกับบทเทศน์
THE MELODIC PREACHING OF MATTHEE EPISODE FROM THE GREAT JATAKA AT THE ANNUAL GREAT PREACHING CEREMONY (TANG DHARMA LUANG) IN CHIANGMAI
The objective of this paper is to examine the melodic preaching of the Great Jataka, from the Matthee episode, which is performed during the preaching ceremony (Tang Dharma Luang) in Chiang-Mai province. The principle of Ethnomusicology is being used as a fundamental in this research in order to study the melodic preaching, social contexts, and preaching demonstrations especially in music attribute to the Great Jataka (Matthee episode).
Results of the research show that the Great Jataka originated from Phra- Kha-Tha-Phan, a Pali Nibrtara Jataka, which is a part of Tripitaka. The Great Jataka preaching is comprised of 13 episodes.
The preaching shows that the script of the chant has been composed in a version of Phi Jae Riaew Daeng, while its melody is a version of Prao Kwai Bai. The Matthee episode of the Great Jataka preaching has six main components: Arathana Dharma (Dharma Invitation), Ue Kan Long (Sound Testing), Karb Kao (Self Introduction), Tang Namo (beginning of Pali text), Matthee Dharma(Preaching Matthee Episode), and Karb Plai (Preaching Termination; finish, wish, farewell). The melody has been categorized into two types of chanting: Dharma Wat and Ma Ha Chart styles. In addition, both styles contain certain techniques of preaching; namely, Tang, Teao, Leao, Wang, Yang, Wai, Kai, and Yang. These techniques appear to have four main symbols to help control tone and rhythm of the chant: Huen Soong (/), Huen Taam (,), La Mai (๙) and Long Siang (o). These symbols, as mentioned, are considered guiding chanters to pronounce in their chants accurately.