การสร้างสรรค์งานศิลปภาพพิมพ์นูนต่ำ เพื่อเด็กพิการทางสายตา

Main Article Content

ยุพา มหามาตร

Abstract

โครงการวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์งานศิลปภาพพิมพ์นูนต่ำเพื่อเด็กพิการทางสายตา เกิดจากแนวความคิด ของผู้วิจัยที่ต้องการใช้ศิลปะ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุด ได้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาทดลองและ สร้างสรรค์งานศิลปภาพพิมพ์นูนต่ำ และใช้ผลงานที่ศึกษาค้นคว้าเป็นสื่อการเรียนการสอนให้เด็กพิการทางสายตา ผู้วิจัยใช้วิธีการ รวบรวมข้อมูลภาคเอกสารที่เกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนศิลปะในโรงเรียนคนพิการทางสายตา และรายละเอียดของภาพพิมพ์ร่องลึกเก็บข้อมูลภาคสนามจากตัวอย่างของสื่อการเรียนการสอน ของโรงเรียนคนตาบอดในจังหวัดเชียงใหม่และทำแบบทดสอบตามทฤษฎีทัศนธาตุ กับเด็ก ทั้งหมด 12 คน ซึ่งเด็กสามารถนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อน นำผลทดสอบ ที่ได้มาวิเคราะห์และนำความรู้ทั้งหมดที่ได้มาใช้กับการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลป ภาพพิมพ์นูนต่ำ ซึ่งมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลของการวิจัยในครั้งนี้จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดี ของประชาชน องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะ และใช้ศิลปะ เป็นสื่อกลางระหว่างผู้มีโอกาสและผู้ด้อยโอกาสให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

 

Creative Printmaking for Visually Impaired Children

         This research project entitled Creative Printmaking for Visually Impaired children, was born from the researcher’s belief that art should serve the highest social purpose, being created with awareness of community members’ shared lives and efforts to help one another, particularly in Chiang Mai province. The objective of the project is to conduct experimental learning and to create works of printmaking art the resulting artwork will be a medium through which visually impaired children can learn and communicate. The researcher has collected data on methodology for teaching art at schools for the visually impaired, as well as information on deep relief printmaking. The researcher has also collection field data from case studies of teaching methods used at school for the blind Throughout Chiang Mai province and has conducted experiments using visual element Theory with twelve children. The children were able to compare the relief prints they felt with various objects on everyday life that had not been able to see before. The results of the experiment were analyzed and the resulting information was used to create printmaking artwork. The researcher hopes that the results of this research will help to create awareness among the general public, various organizations, and community groups of the social value of art, and of the ways in which art can be used as a medium of communication between advantaged and less advantaged people so that we can live together happily.

Article Details

Section
Articles