ความเชื่อ วิถีชีวิตชาวเขา สู่การสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย

Main Article Content

สุนทร สุวรรณเหม

Abstract

ผลงานวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ วิถีชีวิตชาวเขา สู่การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย” เป็นการนำอัตลักษณ์เด่นทางด้านความงามระหว่างความเป็นศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นของคนพื้นราบ กับความงามในวิถีชีวิต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมชาวเขาแบบดั้งเดิม ที่แฝงคุณค่าปรัชญาแห่งความพอเพียงในการดำเนินชีวิตตามวัฏจักรของความเป็นตัวตนแบบบรรพบุรุษที่วางรากฐานไว้อย่างทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังซึมซับความเป็นอารยธรรมของชนเผ่า โดยการสืบทอดไว้ในสายเลือดและยากที่คนพื้นราบจะเข้าใจได้ สิ่งหลงเหลือแห่งตะกอนทางวัฒนธรรมได้บ่มเพาะต้นกล้าทางปัญญาอันบริสุทธิ์ได้แพร่หลายไปตามมุมชีวิตต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าเป็นที่แห่งไหนก็ตามความเป็นวิถีทางรากเหง้าของตนก็ยังอยู่ ความงาม ความรัก ชีวิต เกิดขึ้นเพื่อสร้างความผสานกลมกลืนให้กับโลกได้เสมอเหล่านี้ มีนักคิดนักเขียนทั้งหลายทั้งสายมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ อื่นๆ นมาเป็นแนวคิดการเริ่มต้นทำงานในสายที่เกี่ยวข้องกับตน ผู้เขียนก็เช่นเดียวกัน ได้ใช้ความรู้ทางด้านประติมากรรมหาความเป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ ทางความงามเชิงรูปแบบ รูปทรง เทคนิค วัสดุ วิธีการ ในโครงสร้างที่ได้แนวคิดข้างต้นจินตนาการสร้างสรรค์พรรณนารูปลักษณ์ในฝัน สร้างสรรค์ภาพลักษณ์อย่างมหัศจรรย์ สื่อเรื่องราวที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณความเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นของคนพื้นราบกับคนบนดอยได้อย่างกลมกลืนด้วยภาษาบอกความหมายในทางผลงานประติมากรรม ซึ่งแม้ว่าจะมีความซับซ้อนในเรื่องของข้อมูล รูปแบบ เทคนิคและวิธีการแล้ว ตัวโครงสร้างของผลงานยังแฝงซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วยเหตุและผลที่ต้องให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ความฉลาดของบรรพบุรุษไทยได้อย่างลึกซึ้ง

        อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยนสาระสำคัญเรื่อง “ความเชื่อ วิถีชีวิตชาวเขาสู่การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย” ไว้ในงานวิจัยนี้ โดยข้อมูลสำคัญประเด็นที่ 1 คือความสคัญและที่มาของปัญหาทำการวิจัย ประเด็นที่ 2 คือ ห้วงคำนึงความคิดสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 3 คือ วิธีดำเนินการสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 4 คือ วิเคราะห์การสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 5 คือ บทสรุปของการวิจัย และยังมีงานวิจัยที่เป็นผลงานประติมากรรมในเรื่องเดียวกันนำออกไปแสดงเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามพื้นที่ต่างๆ ของเมืองไทยและในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อให้ครบองค์ความรู้ของการวิจัยในครั้งนี้ ดังประเด็นหลักสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงเนื้อหาโดยสังเขป ในส่วนรายละเอียดของเนื้อหาผู้ที่มีความสนใจต้องลองนำไปศึกษาอ่านดู อาจได้แง่มุมความคิดจากเนื้อหา รูปแบบ รูปทรง เทคนิค วัสดุ วิธีการ ต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

Hill Tribes; Beliefs and Ways of Life towards the Creation of Contemporary Sculpture

         This research titled “Hill Tribes; Beliefs and Ways of Life towards the Creation of Contemporary Sculpture” presents a specifie individual view of beauty through a combination of art, culture, customs, and local traditions of people living in the lowlands, with the beauty of the ways of life, traditions, arts and culture of the hill tribe people. The hill tribes’ ways of life incorporates values and a philosophy of self - sufficiency in accordance with the circle of life that was founded by the ancestors which should be preserved for the future generations so that they can absorb the civilization of their different tribes. This may be difficult for us, people from the lowlands, to understand. What can still be seen is a residue from a culture that has cultivated pure spirit and has spread towards every corner of life in that society. No matter where, the ways of life, the roots, the beauty, the love, still exist. Life’s aim is to live together in harmony with the world. There are many thinkers, writers, from the humanities, the social sciences, etc… who have taken this as the basic concept for their work. This also goes for this researcher. I use the knowledge that I have of sculpture, search for a certain identity, symbols representing beauty, style, form, technique, materials and structural method. Using the concept as above, and, through my imagination, create and describe certain forms from my dreams, create mysterious images, communicate topics that reflect the soul and identity of local people from the lowlands and the highlands in harmony. I use the language of sculpture, which, even though there may be some confusion concerning information, style, technique and method, the structure of the work reveals the wisdom of the villager. I find it profoundly valuable for the younger generations that they should learn about the cleverness of their Thai ancestors.

        This researcher has presented the content of the research “Hill Tribes’ Beliefs and Ways of Life towards the Creation of Contemporary Sculpture” using five chapters. The first chapter deals with the importance, origins and the problems encountered in this research. The second chapter deals with topics on creativity. The third chapter explains the method and proceedings used to create the work. The fourth chapter contains an analysis of the creative work. The fourth topic is a summary of the research. Furthermore, this research, namely a work of sculpture, has been presented to the public at different locations both in Thailand and abroad.

         The chapters as described above are only topics. For those who are interested, the detailed content must be read and studied. They may get inspired by the content, the style, form, technique, materials, or the different methods used in the creation of this work of sculpture.

Article Details

Section
Articles